วันจันทร์ที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2556

แบบฝึกหัดท้ายหน่วยการเรียน คำถามท้ายหน่วยการเรียนที่ 8




แบบฝึกหัดท้ายหน่วยการเรียน


คำถามท้ายหน่วยการเรียนที่ 8
1. ให้ผู้เรียนตอบคำถามต่อไปนี้ โดยเขียนตามความเข้าใจของผู้เรียน
1.1 การนำเสนองานมีวัตถุประสงค์อย่างไร
ตอบ การนำเสนองานมีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอ เผยแพร่ ข้อมูล เรื่องราว หรือผลงานที่ได้ทำการศึกษา ค้นคว้า รวบรวม

1.2หลักการพื้นฐานสำคัญของการนำเสนอผลงานมีอะไรบ้าง
ตอบ 1) การดึงดูดความสนใจ
2) ความชัดเจนและความกระชับของเนื้อหา
3) จัดหาเครื่องมือตามความต้องการของซอฟต์แวร์ ให้มีความพร้อมในการนำเสนอ
4 ) การใช้งานโปรแกรม ต้องเข้าใจโปรแกรม ว่ามีการใช้งานอย่างไร



1.3 การบรรยายสดกับการพากย์มีข้อพิจารณาในการเลือกใช้ต่างกันอย่างไร
ตอบ การบรรยายสดจะใช้ในการนำเสนอผลงาน การประชุมหรือสัมมนา
การพากย์ เป็นการถ่ายทอดเนื้อหาความรู้โดยไม่ต้องอาศัยการมีส่วนร่วมของผู้ชม


1.4 เครื่องมือที่ใช้ในการนำเสนอผลงานที่ใช้ในปัจจุบันมีอะไรบ้าง
ตอบ เครื่องมือที่ใช้ในการนำเสนอผลงานที่ใช้ในปัจจุบัน คือ ชนิดของงานที่จะนำเสนอ มีทั้งชนิดที่ ใช้กระแสไฟฟ้าและไม่ใช้กระแสไฟฟ้า
1.เครื่องพิมพ์ ใช้ในการพิมพ์ข้อความ คำอธิบาย เนื้อหาสาระ
2.เครื่องเสียงและเครื่องขยายเสียง ใช้ในการบันทึกเสียงหรือ
3.เครื่องฉายภาพข้ามศีรษะ ใช้ เป็นเครื่องมือในการนำเสนอข้อมูลขึ้นจอภาพขนาดใหญ่ ทำให้ผู้รับสามารถมองเห็นภาพ หรือข้อความชัดเจนยิ่งขึ้น ซึ่งจะต้อใช้ควบคู่กันกับแผ่น(แผ่นพลาสติกใสที่ใช้สำหรับเขียน พิมพ์ ข้อความและหรือพิมพ์ รูปภาพลงไป
คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์นำเสนอ คอมพิวเตอร์ จัดเป็นเครื่องมือทางเทคโนโลยีสมัยใหม่ ซึ่งสามารถนำมาใช้นำเสนอแทนเครื่องมือดังกล่าวข้างต้นได้เป็นอย่างดีและมี ประสิทธิภาพสูง สามารถเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ต่างๆในหลายรูปแบบ คอมพิวเตอร์ จึงสามารถนำเสนอข้อมูลได้ทุกรูปแบบอย่างมีประสิทธิภาพ โดยการใช้ซอฟต์แวร์ในการประมวลผล แล้วนำเสนอผ่านอุปกรณ์แสดงผลและอุปกรณ์ต่อพ่วงต่างๆโดยทั่วไปอุปกรณ์แสดงผล ของคอมพิวเตอร์ ที่ใช้ในการนำเสนอและพบเห็นกันอยู่ คือ
1 เครื่องพิมพ์ที่ใช้กับคอมพิวเตอร์ มีทั้งพิมพ์สีต่างๆ ได้พิมพ์เฉพาะขาวดำ สามารถพิมพ์ข้อความและรูปภาพได้ โดยผ่านทางโปรแกรมคอมพิวเตอร์
2 จอภาพ เป็นอุปกรณ์ที่มีคู่มากับเครื่องคอมพิวเตอร์ รูปร่างลักษณะและการทำงานคล้ายกับเครื่องรับโทรทัศน์เราสามารถเห็นงาน หรือข้อมูลรูปภาพได้จากหน้าจอ ปัจจุบันได้มีการพัฒนาหลากหลายรูปแบบ

1.5 รูปแบบที่ใช้ในการนำเสนอผลงานที่ใช้ในปัจจุบันมีอะไรบ้าง

ตอบ 1. การนำเสนอแบบ Slide Presentation โดยใช้โปรแกรม Powerpoint

2. การนำเสนอโดยใช้โปรแกรม ProShow Gold

แบบฝึกหัดท้ายหน่วยการเรียน คำถามท้ายหน่วยการเรียนที่ 7


                                                 แบบฝึกหัดท้ายหน่วยการเรียน


คำถามท้ายหน่วยการเรียนที่ 7

1.จงอธิบายเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบต่างๆ ว่ามีกี่ประเภท
ตอบ มี 4 ประเภท
อินทราเน็ต (intranet)
2. เครือข่ายภายนอกองค์กร หรือ เอกซ์ทราเน็ต (Extranet)
3. เครือข่ายภายนอกองค์กร หรือ เอกซ์ทราเน็ต (Extranet)
4.รูปแบบของข้อมูลในเครือข่ายของคอมพิวเตอร์ประเภทต่างๆ

2. อินทราเน็ต (intranet) หมายความว่าอย่างไร
ตอบ อินทราเน็ต (intranet) คือ ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบภายในองค์กร ใช้เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ต ในการใช้งานอินทราเน็ตจะต้องใช้โพรโทคอล IP เหมือนกับอินเทอร์เน็ต สามารถมีเว็บไซต์และใช้เว็บเบราว์เซอร์ได้เช่นกัน รวมถึงอีเมล ถ้าเราเชื่อมต่ออินทราเน็ตของเรากับอินเทอร์เน็ต เราก็สามารถใช้ได้ทั้ง อินเทอร์เน็ต และ อินทราเน็ต

3. จงยกตัวอย่างการแหล่งข้อมูลการสืบค้นบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
ตอบ www.google.co.th
www.yahoo.com

4. จงบอกวิธีการสืบค้นข้อมูลจากเว็บไซต์ Google พอสังเขป
ตอบ พิมพ์คำที่ต้องการหาข้อมูลเพิ่มเติมลงในช่องว่างกลางหน้าจอ เมื่อพิมพ์เรียบร้อยแล้ว คลิกค้นหา ซึ่งจะอยู่ทางด้านล่างของช่องที่ใช้พิมพ์คำ จากนั้นก็จะปรากฎข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับคำที่เราต้องกรค้นหาในเว็บไซต์ต่างๆมากมาย


5.Digital Library หมายความว่าอย่างไร
ตอบ Digital Libraryคือ ห้องสมุดดิจิตัล เป็นการนำเทคโนโลยีหลาย ๆ รูปแบบทั้งสิ่งพิมพ์และข้อมูลดิจิทัลมาประสมประสานในการจัดการกับทรัพยากรสารสนเทศ โดยจัดเก็บให้อยู่ในรูปของข้อมูลดิจิทัล เช่น ความจำอิเล็กทรอนิกส์ หรือ จานแม่เหล็ก หรือ จานออปติคัล ฯลฯ และมีการเชื่อมโยงกันด้วยระบบเครือข่ายผ่านเส้นใยแก้วนำแสง(Fiber Optic) หรือผ่านดาวเทียมเพื่อให้ผู้ใช้จากทั่วโลกสามารถเข้าถึงสารสนเทศเหล่านี้ได้
ทั้งนี้เนื้อหาของสารสนเทศดิจิตัลแบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ เรื่องราวที่สร้างมาและอยู่ในรูปแบบที่เครื่องคอมพิวเตอร์อ่านได้ประเภทหนึ่งและเนื้อหาในวัสดุที่เปลี่ยนจากรูปแบบดั้งเดิม (เช่น หนังสือ จุลสาร รูปภาพ ภาพยนตร์ และเสียง ที่บันทึกไว้) เป็นวัสดุดิจิตัล

6.จงยกตัวอย่างแหล่งข้อมูลเว็บไซต์ประเภทการศึกษา

ตอบ http://blog.eduzones.com/sasitorn25/32095
http://www.learn.in.th/e-learning/

แบบฝึกหัดท้ายหน่วยการเรียน คำถามท้ายหน่วยการเรียนที่ 6


แบบฝึกหัดบทที่ 6

1. อินเทอร์เน็ต (Internet) หมายความว่าอย่างไร
ตอบ อินเทอร์เน็ต (Internet) เป็นระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ที่มีขนาดใหญ่ เครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องทั่วโลก สามารถติดต่อสื่อสารถึงกัน ได้โดยใช้มาตรฐาน ในการรับส่งข้อมูลที่เป็นหนึ่งเดียว หรือที่เรียกว่าโปรโตคอล (Protocol) ซึ่งโปรโตคอล ที่ใช้บนระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต มีชื่อว่า ทีซีพี/ไอพี (TCP/IP : Transmission Control Protocol/Internet Protocol)


2.จงอธิบายความสำคัญของอินเทอร์เน็ตทางด้านการศึกษาว่ามีอะไรบ้าง
ตอบ 1. สามารถใช้ในการสืบค้นหาข้อมูล
2.เปรียบเสมือนห้องสมุดขนาดใหญ่
3.สามารถติดต่อกับมหาวิทยาลัยหรือโรงเรียนอื่นได้ เพื่อการค้นหาข้อมูลที่กำลังศึกษาอยู่ได้


3.จงบอกประโยชน์ของอินเทอร์เน็ตที่ใช้ในชีวิตประจำวัน
ตอบ 1. ใช้แลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร
2. ใช้สืบค้นข้อมูลจากแหล่งความรู้ต่างๆ
3. ใช้สำหรับการพักผ่อน เช่น ฟังเพลง เล่นเกมส์ เป็นต้น
4.ซื้อสินค้าและบริการ
5.ใช้ส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ได้


4. การติดต่อโดยใช้สายโทรศัพท์ผ่านอุปกรณ์ Modem หมายความว่าอย่างไร
ตอบ คือการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต โดยผ่านอุปกรณ์ คือ โมเด็ม (modem) เป็นอุปกรณ์ที่แปลงสัญญาณดิจิทัลเป็นสัญญาณแอนะล็อก และแปลงสัญญาณแอนะล็อกเป็นดิจิทัลเพื่อให้ข้อมูลส่งผ่านทางสายโทรศัพท์ได้


5. ระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต www มีประโยชน์อย่างไร
ตอบ เป็นเครือข่ายที่มีอยู่ทั่วโลก สามารถสืบค้นหา และเข้าถึงข้อมูลต่างๆได้ ข้อมูลเหล่านั้นสามารถอยู่ได้ในหลายรูปแบบ เช่น เอกสาร รูปภาพ ภาพเคลื่อนไหว เสียง เป็นต้น

6. จงยกตัวอย่างประโยชน์ของ E-mail
ตอบ 1. ทำให้การให้การติดต่อสื่อสารทั่วโลกเป็นไปอย่างรวดเร็วทันที ระยะทางไม่เป็นอุปสรรค
2. สามารถส่งจดหมายถึงผู้รับที่ต้องการได้ทุกเวลา
3. สามารถส่งจดหมายถึงผู้รับหลายๆ คนได้ในเวลาเดียวกัน
4. ช่วยประหยัดเวลาในการเดินทางไปส่งจดหมายถึงตู้ไปรษณีย์
5. ผู้รับจดหมายสามารถเรียกอ่านจดหมายได้ทุกเวลาตามสะดวก
6. สามารถถ่ายโอนแฟ้มข้อมูล (Transferring Files)

แบบฝึกหัดท้ายหน่วยการเรียน คำถามท้ายหน่วยการเรียนที่5

1. ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ หมายความว่าอย่างไร
ตอบ ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ( Computer Network ) หมายถึง การเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ตั้งแต่ 2 เครื่องขึ้นไปเข้าด้วยกันด้วยสายเคเบิล หรือสื่ออื่นๆ ทำให้คอมพิวเตอร์สามารถรับส่งข้อมูลแก่กันและกันได้ในกรณีที่เป็นการเชื่อมต่อระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์หลายๆ เครื่องเข้ากับเครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่เป็นศูนย์กลาง เราเรียกคอมพิวเตอร์ที่เป็นศูนย์กลางนี้ว่า โฮสต์ (Host) และเรียกคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กที่เข้ามาเชื่อมต่อว่า ไคลเอนต์ (Client)ระบบเครือข่าย (Network) จะเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์เข้าด้วยกันเพื่อการติดต่อสื่อสาร เราสามารถส่งข้อมูลภายในอาคาร หรือข้ามระหว่างเมืองไปจนถึงอีกซีกหนึ่งของโลก ซึ่งข้อมูลต่างๆ อาจเป็นทั้งข้อความ รูปภาพ เสียง ก่อให้เกิดความสะดวก รวดเร็วแก่ผู้ใช้ ซึ่งความสามารถเหล่านี้ทำให้เครือข่ายคอมพิวเตอร์มีความสำคัญ และจำเป็นต่อการใช้งานในแวดวงต่างๆ

2. ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์มีประโยชน์อย่างไร
ตอบ 1. ระบบเครือข่ายเฉพาะที่ ให้ประโยชน์ในด้านการใช้ข้อมูลร่วมกันโดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้ข้อมูลในฐานเดียวกันทำให้ได้ข้อมูลที่ถูกต้อง
2.ระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ระบบนี้เป็นการเชื่อมโยงกันทั่วโลก สามารถสืบค้นข้อมูลได้อย่างหลากหลาย ระบบนี้มีประโยชน์มากมาย เช่น การส่งไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (E- mail) การเรียนแบบ E- learning เป็นต้น
3.ระบบเครือข่ายร่วมปฏิบัติ เป็นระบบที่นำระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์มาทำงานร่วมกัน มีการนำระบบนี้มาใช้ในการวิจัยเพื่อถอดรหัสพันธุกรรมของมนุษย์ มีสมรรถนะในการทำงานที่ดีมาก สามารถทำให้งานวิจัยให้ลุล่วงไปได้ในเวลาอันสั้น

3. ระบบเครือข่ายในบริเวณเฉพาะที่ หมายความว่าอย่างไร
ตอบ เป็นเครือข่ายระยะใกล้ ที่ใช้กันอยู่ในบริเวณไม่กว้างนัก มักพบเห็นกัน ในองค์กรเดียวกัน โดยส่วนใหญ่ลักษณะของการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เป็นวง LAN จะอยู่ในพื้นที่ใกล้ ๆ กัน เช่น อยู่ภาย อาคารเดียวกัน ภายในตึกเดียวกัน เป็นต้น ตัวอย่าง การเชื่อมต่อเครือข่ายระยะใกล้

4. ระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตหมายความว่าอย่างไร
ตอบ ระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต คือ เครือข่ายคอมพิวเตอร์ ที่เป็นเครือข่ายใหญ่ และเครือข่ายย่อย จำนวนมากเชื่อมต่อกัน เป็นจำนวนหลายร้อยล้านเครื่อง ซึ่งใช้ในการติดต่อสื่อสารข้อมูลที่เป็นรูปภาพ ข้อความ และเสียง โดยผ่านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ที่มีผู้ใช้งานกระจายอยู่ทั่วโลก

5. ระบบเครือข่ายร่วมปฏิบัติการหมายความว่าอย่างไร
ตอบ ระบบปฏิบัติการเครือข่าย Network Operating System (NOS) เป็นโปรแกรมที่ติดตั้งในเครื่องคอมพิวเตอร์แม่ข่าย (Server) เพื่อควบคุมการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ลูกข่าย สำหรับจัดการงานด้านการติดต่อสื่อสารระหว่างคอมพิวเตอร์ และช่วยให้คอมพิวเตอร์ที่ต่ออยู่กับเครือข่ายสามารถใช้อุปกรณ์ต่างๆ ร่วมกันได้ครับ อย่างเช่น ใช้เครื่องพิมพ์ร่วมกัน เป็นต้น ระบบปฏิบัติการเครือข่าย มี คุณสมบัติในการจัดการเกี่ยวกับเครือข่ายและ การใช้งานอุปกรณ์ร่วมกันนะครับ รวมทั้งยังมีระบบการป้องกันการสูญหายของข้อม
ระบบปฏิบัติการเครือข่ายที่นิยมใช้ปัจจุบัน จะใช้หลักการประมวลผลแบบไคลเอนต์เซิร์ฟเวอร์ (Client / Server) โดยส่วนประกอบสำหรับการเรียกใช้แฟ้มข้อมูลและการจัดการโปรแกรมจะทำงานอยู่บนเครื่องเซิร์ฟเวอร์ ในขณะที่ส่วนประกอบอื่น ๆ ของระบบปฏิบัติการเครือข่ายจะอยู่บนเครื่องไคลเอนต์ เช่น การติดต่อกับผู้ใช้ การประมวลผล เป็นต้น การจัดการให้ผู้ใช้เห็นว่างานและอุปกรณ์ทั้งหลายที่ใช้นั้นเสมือนอยู่บนเครื่องไคลเอนต์เอง ถือว่าเป็นหน้าที่หลักอันหนึ่งของระบบปฏิบัติการเครือข่าย

6. ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์มีกี่ประเภท อะไรบ้าง
ตอบ ประเภทของระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ
1. เครือข่ายท้องถิ่น (Local Area Network หรือ LAN)


เป็นเครือข่ายระยะใกล้ ใช้กันอยู่ในบริเวณไม่กว้างนัก อาจอยู่ในองค์กรเดียวกัน หรืออาคารที่ใกล้กัน เช่น ภาพในสำนักงาน ภายในโรงเรียนหรือมหาวิทยาลัย ระบบเครือข่ายท้องถิ่นจะช่วยให้ติดต่อกันได้สะดวก ช่วยลดต้นทุน และเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้งานอุปกรณ์ต่างๆ





2. เครือข่ายระดับเมือง (Metropolitan Area Network หรือ MAN)

เป็นเครือข่ายขนาดกลาง ใช้ภายในเมือง หรือจังหวัดที่ใกล้เคียงกัน เช่น ระบบเคเบิลทีวีที่มีสมาชิกตามบ้านทั่วไปที่เราดูกันอยู่ทุกวันก็จัดเป็นระบบเครือข่ายแบบ MAN





3. เครือข่ายระดับประเทศ (Wide Area Network หรือ WAN)


เป็นระบบเครือข่ายขนาดใหญ่ ใช้ติดตั้งบริเวณกว้าง มีสถานนีหรือจุดเชื่อมต่อมากมาย มากกว่า 1 แสนจุด ใช้สื่อกลางหลายชนิด เช่น ระบบคลื่นวิทยุ ไมโครเวฟ หรือดาวเทียม




7.รูปแบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์มีกี่รูปแบบ อะไรบ้าง
ตอบ มี 2รูปแบบ
1. ฮาร์ดแวร์หรือส่วนเครือข่ายเชิงกายภาพ
2. ซอฟต์แวร์หรือส่วนการจัดการเชิงตรรกะ

แบบฝึกหัดท้ายหน่วยการเรียน คำถามท้ายหน่วยการเรียนที่4

1. ซอฟต์แวร์ คืออะไร และทำหน้าที่อย่างไร
ตอบ Software หมายถึง โปรแกรมหรือชุดคำสั่ง ทำหน้าที่สั่งการ ควบคุมการ ประมวลผลอุปรกรณ์คอมพิวเตอร์ ในส่วนที่เรียกว่า ฮาร์ดแวร์ แม้ว่าจะมีความเร็วสูงในการทำงาน มีหน่วยความจำสูง และมีอุปกรณ์ประกอบมากมาย แต่ฮาร์ดแวร์ทำงานไม่ได้ ถ้าไม่มีชุดคำสั่งควบคุมการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์
คอมพิวเตอร์จะทำงานไม่ได้หากปราศจากระบบปฏิบัติการ ซึ่งช่วยให้มนุษย์ติดต่อกับคอมพิวเตอร์ได้ เราสามารถสั่งงานผ่านระบบปฏิบัติการให้คอมพิวเตอร์คำนวณ ให้แสดงภาพให้พิมพ์ข้อความหรือผลลัพธ์ออกมาทางเครื่องพิมพ์เนื่องจากระบบปฏิบัติการทำหน้าที่ประสานงานระหว่างโปรแกรมต่างๆ กับฮาร์ดแวร์ ไม่ว่าจะเป็นหน่วยประมวลผลกลาง หน่วยความจำ หน่วยรับเข้า และหน่วยส่งออก ซอฟต์แวร์ประยุกต์ไม่ว่าประเภทใดล้วนแต่ต้องทำงานบนระบบปฏิบัติการทั้งสิ้นเนื่องจากคอมพิวเตอร์จะไม่ทำงานถ้าไม่มีระบบปฏิบัติการ การเริ่มใช้งานคอมพิวเตอร์ทุกครั้งจึงต้องบรรจุ( load ) ระบบปฏิบัติการเข้าไว้ในหน่วยความจำของเครื่องคอมพิวเตอร์ก่อนที่จะให้เครื่องเริ่มทำงานอย่างอื่น

2. ซอฟต์แวร์มีกี่ประเภทอะไรบ้าง
ตอบ Software มี 2 ประเภท ดังนี้
1. Software ระบบ (System Software)
2. Software ประยุกต์ (Application Software)

3. ซอฟต์แวร์ระบบคืออะไร
ตอบ Software ระบบ (System Software) คือ ชุดของคำสั่งที่เขียนไว้เป็นคำสั่งสำเร็จรูป ซึ่งจะทำงานใกล้ชิดกับคอมพิวเตอร์มากที่สุด เพื่อคอยควบคุมการทำงานของ Hardware ทุกอย่าง และอำนวยความสะดวกให้กับผู้ใช้ในการใช้งาน

Software หรือโปรแกรมระบบที่รู้จักกันดีก็คือ DOS, Windows, Unix, Linux รวมทั้งโปรแกรมแปลคำสั่งที่เขียนในภาษาระดับสูง เช่น ภาษา Basic, Fortran, Pascal, Cobol, C เป็นต้น นอกจากนี้โปรแกรมที่ใช้ในการตรวจสอบระบบเช่น Norton’s Utilities ก็นับเป็นโปรแกรมสำหรับระบบด้วยเช่นกัน

4. ซอฟต์แวร์ประยุกต์คืออะไร
ตอบ Software ประยุกต์ (Application Software)
คือ Software หรือโปรแกรมที่ทำให้คอมพิวเตอร์ทำงานต่างๆ ตามที่ผู้ใช้ต้องการ ไม่ว่าจะด้านเอกสาร บัญชี การจัดเก็บข้อมูล เป็นต้น Software ประยุกต์สามารถจำแนกได้เป็น 2 ประเภท คือ
2.1 Software สำหรับงานเฉพาะด้าน
2.2 Software สำหรับงานทั่วไป


5. ซอฟต์แวร์เฉพาะงานคืออะไร
ตอบ Software สำหรับงานเฉพาะด้าน คือ โปรแกรมซึ่งเขียนขึ้นเพื่อการทำงานเฉพาะอย่าง บางที่เรียกว่า User’s Program เช่น โปรแกรมการทำบัญชีจ่ายเงินเดือน โปรแกรมระบบเช่าซื้อ โปรแกรมการทำสินค้าคงคลัง เป็นต้น ซึ่งแต่ละโปรแกรมก็มักจะมีเงื่อนไขหรือแบบฟอร์ม แตกต่างกันออกไปตามความต้องการหรือกฏเกณฑ์ของแต่ละหน่วยงานที่ใช้ ซึ่งสามารถดัดแปลงแก้ไขเพิ่มเติม (Modifications) ในบางส่วนของโปรแกรมได้ เพื่อให้ตรงกับความต้องการของผู้ใช้ และ Software ประยุกต์ที่เขียนขึ้นนี้โดยส่วนใหญ่มักใช้ภาษาระดับสูงเป็นตัวพัฒนา


6. ซอฟต์แวร์มีความสำคัญและจำเป็นต่องานคอมพิวเตอร์อย่างไร
ตอบ การใช้งานระบบสารสนเทศด้วยคอมพิวเตอร์ จำเป็นต้องมีซอฟต์แวร์ควบคุมการทำงาน เช่น การซื้อของโดยใช้บัตรเครดิต ผู้ขายจะตรวจสอบบัตรเครดิตโดยใช้เครื่องอ่านบัตร แล้วส่งข้อมูลของบัตรเครดิตไปยังศูนย์ข้อมูลของบริษัทผู้ออกบัตร การตรวจสอบจะกระทำกับฐานข้อมูลกลาง โดยมีกลไกหรือเงื่อนไขของการตรวจสอบ จากนั้นจึงให้คำตอบว่าจะยอมรับหรือปฏิเสธบัตรเครดิตใบนั้นการดำเนินการเหล่านี้เป็นไปโดยอัตโนมัติตามคำสั่งของซอฟต์แวร์ ทำนองเดียวกันเมื่อซื้อสินค้าในห้างสรรพสินค้า พนักงานเก็บเงินจะใช้เครื่องกราดตรวจอ่านรหัสแท่งบนสินค้าทำให้บนจอภาพปรากฎชื่อสินค้า รหัสสินค้า และราคาสินค้า ในการดำเนินการนี้ต้องใช้ซอฟต์แวร์ซอฟต์แวร์จึงเป็นสิ่งสำคัญที่ทำให้ระบบทำงานได้
การที่คอมพิวเตอร์ดำเนินการได้อย่างไรและก่อให้เกิดประโยชน์ได้มากน้อยเพียงใดนั้นจึงขึ้นอยู่กับซอฟต์แวร์ ซอฟต์แวร์จึงเป็นส่วนสำคัญของระบบคอมพิวเตอร์ หากขาดซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์ก็ไม่สามารถทำงานได้ ซอฟต์แวร์จึงเป็นสิ่งที่จำเป็นและสำคัญมาก ซอฟต์แวร์เป็นส่วนประกอบหนึ่งที่ทำให้ระบบสารสนเทศเป็นไปได้ตามที่ต้องการ ความจำเป็น
โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ใช้สั่งงานคอมพิวเตอร์จึงเป็นซอฟต์แวร์ เพราะเป็นลำดับขั้นตอนการทำงานของคอมพิวเตอร์
คอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่ง ทำงานแตกต่างกันได้มากมายด้วยซอฟต์แวร์ที่แตกต่างกัน ซอฟต์แวร์จึงหมายรวมถึงโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ทุกประเภทที่ทำให้คอมพิวเตอร ์ทำงานได้ การที่เราเห็นคอมพิวเตอร์ทำงานให้กับเราได้มากมาย เพราะว่ามีผู้พัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ มาให้เราสั่งงานคอมพิวเตอร์ ร้านค้าอาจใช้คอมพิวเตอร์ทำบัญชีที่ยุ่งยากซับซ้อน บริษัทขายตั๋วใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในระบบการจองตั๋ว คอมพิวเตอร์ช่วยในเรื่อง กิจการงานธนาคารที่มีข้อมูลต่าง ๆ มากมาย คอมพิวเตอร์ช่วยงานพิมพ์เอกสารให้สวยงาม เป็นต้น การที่คอมพิวเตอร์ดำเนินการ ให้ประโยชน์ได้มากมายมหาศาลจะอยู่ที่ซอฟต์แวร์ ซอฟต์แวร์จึงเป็นส่วนสำคัญของระบบคอมพิวเตอร์ หากขาดซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์ก็ไม่สามารถ ทำงานได้ ซอฟต์แวร์จึงเป็นสิ่งที่จำเป็น และมีความสำคัญมาก และเป็นส่วนประกอบหนึ่ง ที่ทำให้ระบบสารสนเทศเป็นไปได้ตามที่ต้องการ

7. ซอฟต์แวร์และภาษาคอมพิวเตอร์เกี่ยวข้องกันอย่างไร
ตอบ ในการทำงานของคอมพิวเตอร์จะทำหน้าที่แปลภาษาระดับสูงให้เป็นภาษาเครื่อง เป็นเลขฐานสอง คือ เลข 0 กับ 1 เป็นคำสั่งในการสั่งงานคอมพิวเตอร์ รหัสเลขทั้งสองนี้ คอมพิวเตอร์สามารถแปลผลได้อย่างเป็นเหตุเป็นผลเชิงตรรกะได้อย่างถูกต้องเรียกเลขทั้งสองนี้ว่าภาษาเครื่อง ซึ่งจะนำมาเป็นคำสั่งในการใช้ซอฟต์แวร์ต่างๆในคอมพิวเตอร์ต่อไป


8. ระบบปฏิบัติการคืออะไร ทำหน้าที่อะไร
ตอบ ระบบปฏิบัติการ (operating system) หรือ โอเอส (OS) เป็นซอฟต์แวร์ที่ทำหน้าที่เป็นตัวกลางระหว่างฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ประยุกต์ทั่วไป บางครั้งเราอาจะเห็นระบบปฏิบัติการเป็นเฟิร์มแวร์ก็ได้
ระบบปฏิบัติการ ช่วยให้ตัวซอฟต์แวร์ประยุกต์ ไม่ต้องจัดการเรื่องเหล่านั้นด้วยตนเอง เพียงแค่เรียกใช้บริการจากระบบปฏิบัติการก็พอ ทำให้พัฒนาซอฟต์แวร์ประยุกต์ได้ง่ายขึ้น ระบบปฏิบัติการที่เป็นที่นิยมในคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลทุกวันนี้ ได้แก่ ไมโครซอฟท์ วินโดวส์ แมคโอเอส และลินุกซ์

แบบฝึกหัดท้ายหน่วยการเรียน คำถามท้ายหน่วยการเรียนรู้ที่ 3

1. คอมพิวเตอร์ หมายถึงอะไร และมีประโยชน์อย่างไร
ตอบ คอมพิวเตอร์ (อังกฤษ: computer) มาจากภาษาละตินว่า Computare หรือในภาษาไทยว่า คณิตกรณ์ ซึ่งหมายถึง การนับ หรือ การคำนวณ เครื่องคำนวณอิเล็กทรอนิกส์ ที่สามารถทำงานคำนวณผลและเปรียบเทียบค่าตามชุดคำสั่งด้วยความเร็วสูงอย่างต่อเนื่องและอัตโนมัติ พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 ให้ความหมายของคอมพิวเตอร์ไว้ค่อนข้างกะทัดรัดว่า " เครื่องอิเล็กทรอนิกส์แบบอัตโนมัติ ทำหน้าที่เหมือนสมองกล ใช้สำหรับแก้ปัญหาต่างๆ ที่ง่ายและซับซ้อนโดยวิธีทางคณิตศาสตร์" หรืออาจกล่าวได้ว่า เครื่องคอมพิวเตอร์หมายถึง เครื่องมือที่ช่วยในการคำนวณและการประมวลผลข้อมูล เป็นเครื่องจักรแบบสั่งการได้ที่ออกแบบมาเพื่อดำเนินการกับลำดับตัวดำเนินการทางตรรกศาสตร์หรือคณิตศาสตร์ โดยอนุกรมนี้อาจเปลี่ยนแปลงได้เมื่อพร้อม
ประโยชน์ที่ได้รับจากการใช้งานคอมพิวเตอร์
1.มีความเร็วในการทำงานสูง
2.มีประสิทธิภาพในการงานสูง สามารถทำงานได้ตลอด 24 ชั่วโมง โอกาสเครื่องเสียน้อยมาก
3.มีความถูกต้อง แม่นยำตามโปรแกรมที่สังงานและข้อมูลที่ใช้
4.เก็บข้อมูลได้มาก ไม่ต้องใช้เอกสารและตู้เก็บ
5.สามารถโอนย้ายข้อมูลจากเครื่องหนึ่งไปอีกเครื่องหนึ่ง โดยผ่านระบบเครือข่ายได้อย่างรวดเร็ว

2. คอมพิวเตอร์มีที่มาอย่างไร

ตอบ พัฒนาการทางด้านเทคโนโลยีในช่วง 100 ปีที่ผ่านมาได้พัฒนาไปอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งเทคโนโลยีทางด้าน คอมพิวเตอร์ เมื่อ 50 ปีที่แล้วมา มีคอมพิวเตอร์ขึ้นใช้งาน ต่อมาเกิดระบบสื่อสารโทรคมนาคมสมัยใหม่เกิดขึ้นมากมาย และมีแนวโน้มการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เราสามารถแบ่งพัฒนาการคอมพิวเตอร์จากอดีตสู่ปัจจุบัน สามารถแบ่งเป็นยุคก่อนการใช้ไฟฟ้าอิเล็กทรอนิคส์ และยุคที่เครื่องคอมพิวเตอร์เป็นอุปกรณ์ไฟฟ้าอิเล็กทรอนิคส์

คอมพิวเตอร์มีวิวัฒนาการแบ่งออกเป็น 5 ยุค ดังนี้
คอมพิวเตอร์ยุคที่ 1 อยู่ระหว่างปี พ.ศ. 2488 ถึง พ.ศ. 2501 เป็นคอมพิวเตอร์ที่ใช้หลอดสุญญากาศซึ่งใช้กำลังไฟฟ้าสูง จึงมีปัญหาเรื่องความร้อนและไส้หลอดขาดบ่อย ถึงแม้จะมีระบบระบายความร้อนที่ดีมาก การสั่งงานใช้ภาษาเครื่องซึ่งเป็นรหัสตัวเลขที่ยุ่งยากซับซ้อน เครื่องคอมพิวเตอร์ของยุคนี้มีขนาดใหญ่โต เช่น มาร์ค วัน (MARK I), อีนิแอค (ENIAC), ยูนิแวค (UNIVAC)
คอมพิวเตอร์ยุคที่ 2 อยู่ระหว่างปี พ.ศ. 2502 ถึง พ.ศ. 2507 เป็นคอมพิวเตอร์ที่ใช้ทรานซิสเตอร์ (Transister) เป็นวงจรอิเล็กทรอนิกส์ และใช้วงแหวนแม่เหล็กเป็นหน่วยความจำ เป็นคอมพิเตอร์ที่มีขนาดเล็กกว่ายุคแรก ราคาถูกลง ต้นทุนต่ำกว่าใช้กระแสไฟฟ้าน้อย มีความแม่นยำและมีประสิทธิภาพที่ดีกว่า
คอมพิวเตอร์ยุคที่ 3 อยู่ระหว่างปี พ.ศ. 2507 ถึง พ.ศ. 2513 เป็นคอมพิวเตอร์ที่ใช้วงจรรวม (Integrated Circuit : IC) หรือเรียกว่าวงจรไอซี ซึ่งเป็นสารกึ่งตัวนำที่บรรจุวงจีทางตรรกะไว้ แล้วพิมพ์บนแผ่นซิลอคอน(Silicon) เรียกว่า ชิป ซึ่งสามารถทำงานได้เท่ากับทรานซิสเตอร์หลายร้อยตัว เครื่องคอมพิวเตอร์จึงมีขนาดเล็กลง ความเร็วเพิ่มขึ้นและใช้กำลังไฟน้อย
คอมพิวเตอร์ยุคที่ 4 อยู่ระหว่างปี พ.ศ. 2514 ถึง พ.ศ. 2523 เป็นคอมพิวเตอร์ที่ใช้วงจร LSI (Large Scale Integration) เป็นการรวมวงจรไอซีจำนวนมากลงในแผ่นซิลิคอนชิป 1 แผ่น สามารถบรรจุได้มากกว่า 1 ล้านวงจร ขนาดของเครื่องคอมพิวเตอร์มีขนาดเล็กลง หรือไมโครคอมพิวเตอร์ เป็นแบบตั้งโต๊ะ หรือพกพาได้ ทำงานเร็วขึ้นและมีประสิทธิภาพมากขึ้น
คอมพิวเตอร์ยุคที่ 5 อยู่ระหว่างปี พ.ศ. 2524-ปัจจุบัน เป็นคอมพิวเตอร์ที่ใช้วงจร VLSI (Very Large Scale Integration) เป็นการพัฒนาไมโครโพรเซสเซอร์ให้มีประสิทธภาพมากขึ้น คอมพิวเตอร์ในยุคนี้ใช้เพื่อช่วยในการจัดการ การตัดสินใจ และการแก้ปัญหา โดยจะมีการเก็บข้อมูลไว้ เมื่อต้องการใช้งานก็สามารถเรียกข้อมูลที่เก็บไว้มาใช้ในการทำงานได้ ขนาดเครื่องมีแนวโน้มเล็กลง และมีความเร็วสูงขึ้น เช่น โน๊ตบุ๊ก

3. ส่วนประกอบสำคัญของคอมพิวเตอร์ได้แก่อะไรบ้าง
ตอบ 1.ส่วนรับข้อมูล (Input Unit)
ทำหน้าที่รับข้อมูลจากผู้ใช้เข้าสู่หน่วยความจำหลัก ปัจจุบันอุปกรณ์มากมายแบ่งเป็นประเภทต่างๆ ได้ดังนี้
- Keyboard (คีย์บอร์ด)
- Mouse (เมาส์)
- Scanner (สแกนเนอร์)
- Webcam (เว็บแคม)
- Microphone (ไมโครโฟน)
- Touch screen (ทัชสกรีน)


2.ส่วนประมวลผลข้อมูล (Central Processing Unit)
ส่วนประกอบของหน่วยประมวลผลกลางนั้นประกอบไปด้วย
1. หน่วยคำนวณ และตรรกะ (Arithmetic & Logical Unit : ALU)
2. หน่วยควบคุม (Control Unit)
3. หน่วยความจำหลัก (Main Memory)


3.ส่วนแสดงผล (Output Unit)
หน่วยแสดงผล (Output Unit) ทำหน้าที่แสดงผลลัพธ์จากคอมพิวเตอร์ โดยมากจะแบ่งออกเป็น 2 ประเภท
3.1) หน่วยแสดงผลชั่วคราว (Soft Copy) หมายถึง การแสดงผลออกมาให้ผู้ใช้ได้รับทราบในขณะนั้น แต่เมื่อเลิกการทำงานหรือเลิกใช้แล้วผลนั้นก็จะหายไป ไม่เหลือเป็นวัตถุให้เก็บได้ ถ้าต้องการเก็บผลลัพธ์นั้นก็สามารถส่งถ่ายไปเก็บในรูปของข้อมูลในหน่วยเก็บข้อมูลสำรอง เพื่อให้สามารถใช้งานได้ในภายหลัง ได้แก่
- จอภาพ (Monitor)
- อุปกรณ์ฉายภาพ (Projector)
- อุปกรณ์เสียง (Audio Output)

3.2) หน่วยแสดงผลถาวร (Hard Copy) หมายถึง การแสดงผลที่สามารถจับต้อง และเคลื่อนย้ายได้ตามต้องการ มักจะออกมาในรูปของกระดาษ ซึ่งผู้ใช้สามารถนำไปใช้ในที่ต่าง ๆ หรือให้ผู้ร่วมงานดูในที่ใด ๆ ก็ได้ อุปกรณ์ที่ใช้เช่น
- เครื่องพิมพ์ (Printer)
- เครื่องพลอตเตอร์ (Plotter)

4.หน่วยความจำ (Memory Unit)
หน่วยความจำ (Memory Unit) ทำหน้าที่เก็บโปรแกรมหรือข้อมูลที่รับมาจากหน่วยรับข้อมูล เพื่อเตรียมส่งออกหน่วยประมวลผลกลางทำการประมวลผล และรับผลลัพธ์ที่ได้จากการประมวลผล และเตรียมส่งออกหน่วยแสดงผลข้อมูลต่อไป ซึ่งหน่วยความจำของคอมพิวเตอร์แบ่งออกเป็น 2 ประเภทหลักๆ ดังนี้
4.1) หน่วยความจำหลัก (Main Memory Unit)
เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการจดจำข้อมูล และโปรแกรมต่าง ๆ ที่อยู่ระหว่างการประมวลผลของคอมพิวเตอร์ บางครั้งอาจเรียกว่า หน่วยเก็บข้อมูลหลัก (Primary storage) สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ
4.1.1) หน่วยความจำหลักแบบอ่านได้อย่างเดียว (Read Only Memory - ROM) เป็นหน่วยความจำแบบสารกึ่งตัวนำชั่วคราวชนิดอ่านได้อย่างเดียว ใช้เป็นสื่อบันทึกในคอมพิวเตอร์ เพราะไม่สามารถบันทึกซ้ำได้ (อย่างง่ายๆ) เป็นความจำที่ซอฟต์แวร์หรือข้อมูลอยู่แล้ว และพร้อมที่จะนำมาต่อกับไมโครโพรเซสเซอร์ได้โดยตรง หน่วยความจำประเภทนี้แม้ไม่มีไฟเลี้ยงต่ออยู่ ข้อมูลก็จะไม่หายไปจากน่วยความจำ (nonvolatile)
4.1.2) หน่วยความจำหลักแบบแก้ไขได้ (Random Access Memory - RAM) เป็นหน่วยความจำหลัก ที่ใช้ในระบบคอมพิวเตอร์ยุคปัจจุบัน หน่วยความจำชนิดนี้ อนุญาตให้เขียนและอ่านข้อมูลได้ในตำแหน่งต่างๆ อย่างอิสระ และรวดเร็วพอสมควร ซึ่งต่างจากสื่อเก็บข้อมูลชนิดอื่นๆ อย่างเทป หรือดิสก์ ที่มีข้อจำกัดในการอ่านและเขียนข้อมูล ที่ต้องทำตามลำดับก่อนหลังตามที่จัดเก็บไว้ในสื่อ หรือมีข้อกำจัดแบบรอม ที่อนุญาตให้อ่านเพียงอย่างเดียว
ข้อมูลในแรม อาจเป็นโปรแกรมที่กำลังทำงาน หรือข้อมูลที่ใช้ในการประมวลผล ของโปรแกรมที่กำลังทำงานอยู่ ข้อมูลในแรมจะหายไปทันที เมื่อระบบคอมพิวเตอร์ถูกปิดลง เนื่องจากหน่วยความจำชนิดนี้ จะเก็บข้อมูลได้เฉพาะเวลาที่มีกระแสไฟฟ้าหล่อเลี้ยงเท่านั้น

4.2) หน่วยเก็บข้อมูลสำรอง (Secondary Storage Unit)
สามารถแบ่งออกได้เป็นประเภทใหญ่ ๆ ได้ 4 ประเภท ดังนี้
4.2.1) แบบจานแม่เหล็ก ตัวอย่างเช่น ฮาร์ดดิสก์
4.2.2) แบบแสง เป็นที่นิยมและรู้จักกันดี เช่น CD , DVD
4.2.3) แบบเทป เป็นสื่อเก็บข้อมูลที่สามารถเก็บข้อมูลได้เป็นจำนวนมากและเข้าถึงข้อมูลแบบเรียงลำดับต่อเนื่องกันไป มีการผลิตขึ้นมาหลากหลายขนาดแตกต่างกันไป เช่น DAT และ QIC เป็นต้นปัจจุบันไม่ค่อยถือเป็น ส่วนประกอบของคอมพิวเตอร์
4.2.4) แบบอื่นๆ เช่น Flash Drive, Thumb Drive , Handy Drive เป็นต้น

4. ระบบคอมพิวเตอร์หมายถึงอะไร ส่วนประกอบที่สำคัญของระบบคอมพิวเตอร์ได้แก่อะไร
ตอบ ระบบคอมพิวเตอร์ หมายถึง กลุ่มขององค์ประกอบที่มีความสัมพันธ์กันและทำงานร่วมกัน ซึ่งระบบคอมพิวเตอร์จะมีองค์ประกอบที่สำคัญ 3 ส่วน คือ
ฮาร์ดแวร์ (Hardware)
ซอฟต์แวร์ (Software)
บุคลากร (Peopleware)


5. ฮาร์ดแวร์ หมายถึงอะไร ส่วนประกอบที่สำคัญของฮาร์ดแวร์ได้แก่อะไร

ตอบ ฮาร์ดแวร์ (Hardware) หมายถึง อุปกรณ์ต่าง ๆ ที่เป็นตัวเครื่องคอมพิวเตอร์ แบ่งออกเป็นส่วนประกอบดังนี้

1. หน่วยรับข้อมูล (Input unit) เป็นอุปกรณ์รับเข้า ทำหน้าที่รับโปรแกรมและข้อมูลเข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์รับเข้าที่ใช้กันเป็นส่วนใหญ่ คือ แป้นพิมพ์ ( Keyboard ) และเมาส์ ( Mouse) นอกจากนี้ยังมีอุปกรณ์รับเข้าอื่น ๆ อีก ได้แก่ สแกนเนอร์ ( Scanner), วีดีโอคาเมรา (Video Camera), ไมโครโฟน (Microphone),ทัชสกรีน (Touch screen), แทร็คบอล (Trackball), ดิจิตเซอร์ เทเบิ้ล แอนด์ ครอสแชร์ (Digiter tablet and crosshair)
2. หน่วยประมวลผลกลาง (Central Processing Unit) หรือเรียกโดยทั่ว ๆ ไปว่า CPU ซึ่งถือว่าเป็นสมองของระบบคอมพิวเตอร์ มีส่วนประกอบที่สำคัญ 2 ส่วน คือ หน่วยควบคุม หน่วยคำนวณ
หน่วยควบคุม (Control Unit หรือ CU) ทำหน้าที่ควบคุมลำดับขั้นตอนการทำงานของหน่วยรับข้อมูล หน่วยแสดงผล หน่วยคำนวณและหน่วยตรรก หน่วยความจำและแปลคำสั่ง
หน่วยคำนวณและตรรก (Arithmetic and Logic Unit หรือ ALU) ทำหน้าที่ในการคำนวณหาตัวเลข เช่น การบวก ลบ การเปรียบเทียบ
หน่วยความจำ เป็นอุปกรณ์ใช้เก็บโปรแกรมและข้อมูลที่ใช้ในการประมวลผล

3. หน่วยความจำภายใน (Primary Storage Section หรือ Memory) เป็นหน่วยความจำที่อยู่ภายในเครื่องคอมพิวเตอร์ที่สามารถติดต่อกับหน่วยงานอื่น ๆ ได้โดยตรง แบ่งออกเป็น 2 ประเภท
หน่วยความจำภายใน

- หน่วยความจำแบบแรม (Random Access Memory หรือ Ram) เป็นหน่วยความจำชั่วคราว ที่ใช้สำหรับเก็บโปรแกรมที่กำลังใช้งานอยู่ขณะนั้น มีความจุของหน่วยเก็บข้อมูลไม่เกิน 640 KB คือผู้ใช้สามารถเขียนหรือลบไปได้ตลอดเวลา ถ้าหากปิดเครื่องคอมพิวเตอร์หรือไฟฟ้าดับ จะมีผลทำให้ข้อมูลต่าง ๆ ที่เก็บไว้สูญหายไปหมด และไม่สามารถเรียกกลับคืนมาได้

- หน่วยความจำแบบรอม (Read Only Memory หรือ Rom) เป็นหน่วยความจำถาวร ที่สามารถอ่านได้อย่างเดียว ไม่สามารถบันทึกข้อมูลได้ ถึงแม้ว่าจะปิดเครื่องหรือไฟฟ้าดับ ข้อมูลที่เก็บไว้จะยังคงอยู่ 2. หน่วยความจำสำรอง ได้แก่ เทปแม่เหล็ก จานแม่เหล็ก แผ่นดิสก์ (Diskett) CD-ROM

6. ส่วนประกอบใดของอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ที่มีหน้าที่หลักในการควบคุมการทำงานของคอมพิวเตอร์เปรียบเสมือนส่วสมองของระบบคอมพิวเตอร์

ตอบ หน่วยประมวลผลกลาง (Central Processing Unit) หรือ CPU ในที่นี้ซีพียู หมายถึง ตัวชิป ที่ควบคุมระบบการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ เนื่องจากตัวซีพียูเป็นชิปคอมพิวเตอร์ที่ทำหน้าที่เหมือนส่วนสมองของระบบคอมพิวเตอร์


7. หน่วยคอมพิวเตอร์แบบแรม (RAM)และระบบรอม(ROM) ของหน่วยความจำหลักแตกต่างกันอย่างไร

ตอบ หน่วยความจำแบบแรม (Random Access Memory หรือ Ram) เป็นหน่วยความจำชั่วคราว ที่ใช้สำหรับเก็บโปรแกรมที่กำลังใช้งานอยู่ขณะนั้น มีความจุของหน่วยเก็บข้อมูลไม่เกิน 640 KB คือผู้ใช้สามารถเขียนหรือลบไปได้ตลอดเวลา ถ้าหากปิดเครื่องคอมพิวเตอร์หรือไฟฟ้าดับ จะมีผลทำให้ข้อมูลต่าง ๆ ที่เก็บไว้สูญหายไปหมด และไม่สามารถเรียกกลับคืนมาได้

หน่วยความจำแบบรอม (Read Only Memory หรือ Rom) เป็นหน่วยความจำถาวร ที่สามารถอ่านได้อย่างเดียว ไม่สามารถบันทึกข้อมูลได้ ถึงแม้ว่าจะปิดเครื่องหรือไฟฟ้าดับ ข้อมูลที่เก็บไว้จะยังคงอยู่


8.จานบันทึกข้อมูล(Hard Disk) ประกอบด้วยอะไร ทำหน้าที่อย่างไร

ตอบ ส่วนประกอบของฮาร์ดดิสก์ อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ที่บรรจุข้อมูลแบบไม่ลบเลือนประกอบด้วยจานแม่เหล็ก ตั้งแต่หนึ่งแผ่นจนถึงหลายแผ่น และเครื่องขับจาน มีมอเตอร์หมุนแผ่น มีหัวแม่เหล็กใช้อ่านและเขียนข้อมูลตามคำสั่งของโปรแกรมหรือผู้ปฏิบัติงาน ตามความต้องการ

9.บอกความหมายของคำต่อไปนี้เมกะไบต์ (Megabyte) กิกะไบต์(Gigabit) พิกเซล(Pixel) จิกะเฮิร์ซ(GHz)

ตอบ เมกะไบต์ (อังกฤษ: megabyte) เป็นหน่วยวัดปริมาณสารสนเทศหรือความจุของหน่วยเก็บ (storage) ในคอมพิวเตอร์ มีค่าเท่ากับหนึ่งล้านไบต์ เมกะไบต์นิยมเขียนย่อเป็น MB


กิกะไบต์หรือ จิกะไบต์ (gigabyte) ใช้ตัวย่อว่า GB เป็นหน่วยวัดขนาดของข้อมูลในคอมพิวเตอร์ เช่น ใช้เป็นหน่วยวัดความจุของหน่วยความจำหรือฮาร์ดดิสก์ ค่าพหุคูณ คือ 109


จุดภาพ หรือ พิกเซล (อังกฤษ: pixel) เป็นหน่วยพื้นฐานของภาพ คือจุดภาพบนจอแสดงผล หรือ จุดภาพในรูปภาพที่รวมกันเป็นภาพขึ้น โดยภาพหนึ่งๆ จะประกอบไปด้วยจุดภาพหรือพิกเซลมากมาย และแต่ละภาพที่สร้างขึ้นจะมีความหนาแน่นของจุดภาพ หรือบางครั้งแทนว่าความละเอียด (ความคมชัด) ที่แตกต่างกันไป จึงใช้ในการบอกคุณสมบัติของภาพ จอภาพ หรือ อุปกรณ์แสดงผลภาพได้


gigahertz (กิกะเฮิร์ตซ์) ตัวย่อ GHz เป็นหน่วยของความถี่ไฟฟ้ากระแสสลับ (AC) หรือคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (EM) เท่ากับหนึ่งพันล้านเฮิร์ตซ์ (1,000,000,000 Hz) gigahertz ได้รับการใช้เป็นตัวชี้ความถี่ของ ultra-high-frequency (UHF) และสัญญาณคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าไมโครเวฟ (microwave) และรวมถึงในบางคอมพิวเตอร์ ใช้แสดงความเร็วนาฬิกาของไมโครโพรเซสเซอร์


10. จอภาพ แป้นพิมพ์ และเมาส์ ทำหน้าที่อย่างไรในเครื่องคอมพิวเตอร์

ตอบ จอภาพ มีหน้าที่ในการแสดงข้อมูลผลลัพธ์ที่เกิดจากการประมวลผลจากเครื่องคอมพิวเตอร์แป้นพิมพ์ มีหน้าที่่ รับเข้าข้อมูลจากการกดแป้นพิมพ์ส่งต่อไปให้กับเครื่องคอมพิวเตอร์
เมาส์ มีหน้าที่ โดยสรุปมีดังนี้
1. เลือกคำสั่งบนเมนู
2. ใช้เลื่อนสัญรูป (Icon)
3. ปรับเปลี่ยนขนาดของวินโดว์หรือหน้าต่าง
4. เริ่มต้นใช้งานโปรแกรม
5. เลือกออปชันต่าง ๆ
เมาส์มีรูปร่างหลากหลายรูปแบบ มีสีสันต่าง ๆ กันไปตามการออกแบบของผู้ผลิต ส่วนประกอบที่สำคัญของเมาส์ ภายในจะมีลูกกลิ้งกลมสำหรับหมุนเพื่อเลื่อนเคอร์เซอร์ การใช้เมาส์ที่ถูกต้อง ควรจับเมาส์ให้พอเหมาะกับอุ้งมือ นิ้วชี้จะอยู่ที่ปุ่มด้านซ้าย ส่วนนิ้วกลางวางที่ปุ่มขวา อุ้งมือสำหรับบังคับให้เลื่อนเมาส์ไปมาได้สะดวก เมื่อเราเลื่อนเมาส์จะพบตัวชี้เมาส์วิ่งไปมาบนจอภาพ แสดง ว่าเมาส์กำลังทำงานอยู่ตามปกติ

แบบฝึกหัดท้ายหน่วยการเรียน คำถามท้ายหน่วยการเรียนรู้ที่ 2

1.คำว่า "ระบบ" และวิธีการเชิงระบบ หมายถึงอะไร
ตอบ ระบบ หมายถึงสิ่งที่ประกอบขึ้นมาจากหน่วยย่อยหรือองค์ประกอบย่อย ที่จะต้องมีความสัมพันธ์และทำหน้าที่ร่วมกันเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ ภายในระบบแต่ละระบบสามารถมองเป็น ระบบย่อย (Subsystem) ได้ซึ่งระบบย่อยเหล่านี้ถือว่าเป็นระบบด้วยเช่นกัน เพราะมีองค์ประกอบต่าง ๆ ของระบบที่สมบูรณ์ในตัวเอง เมื่อระบบย่อยหลาย ๆ ระบบรวมกันจะทำให้เกิดระบบใหญ่ขึ้น
วิธีการเชิงระบบ(Systems Approach) หมายถึงการจัดองค์ประกอบของระบบในกรอบความคิดของตัวป้อน กระบวนการ กลไกควบคุมผลผลิต และข้อมูลป้อนกลับและนำเสนอผังของระบบในรูปแบบของระบบที่สมบูรณ์

2. องค์ประกอบสำคัญของวิธีระบบได้แก่อะไร
ตอบ วิธีการระบบมีองค์ประกอบที่สำคัญ 4 ประการ คือ
1. ข้อมูลวัตถุดิบ (input)
2. กระบวนการ (process)
3. ผลผลิต (output)
4. การตรวจสอบผลย้อนกลับ (feed back)

3.ระบบสารสนเทศ หมายถึงอะไร
ตอบ ระบบสารสนเทศ (Information system) หมายถึง ระบบที่ประกอบด้วยส่วนต่างๆ ได้แก่ ระบบคอมพิวเตอร์ทั้งฮาร์ดแวร์ ซอฟท์แวร์ ระบบเครือข่าย ฐานข้อมูล ผู้พัฒนาระบบ ผู้ใช้ระบบ พนักงานที่เกี่ยวข้อง และ ผู้เชี่ยวชาญในสาขา ทุกองค์ประกอบนี้ทำงานร่วมกันเพื่อกำหนด รวบรวม จัดเก็บข้อมูล ประมวลผลข้อมูลเพื่อสร้างสารสนเทศ และส่งผลลัพธ์หรือสารสนเทศที่ได้ให้ผู้ใช้เพื่อช่วยสนับสนุนการทำงาน การตัดสินใจ การวางแผน การบริหาร การควบคุม การวิเคราะห์และติดตามผลการดำเนินงานขององค์กร


4.องค์ประกอบหลักของระบบสารสนเทศ ได้แก่อะไร

ตอบ องค์ประกอบหลักของระบบสารสนเทศแบ่ได้เป็น 2 ส่วน คือ

1. ระบบการคิด หมายถึงกระบวนการและขั้นตอนในการจัดลำดับ จำแนก แจกแจง และจัดหมวดหมู่ข้อมูลต่างๆเพื่อความสะดวกในการจัดและเผยแพร่ ระบบการคิดจึงเป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญของงานสารสนเทศที่งระดับพื้นฐานและระดับสูง

2. ระบบเครื่องมือ หมายถึง วัสดุอุปกรณ์หรือเครื่องมือที่นำมาใช้ในการรวบรวม จัดเก็บและเผยแพร่สารสนเทศให้ดำเนินการไปอย่างมีประสิทธิภาพ ปัจจุบันคอมพิวเตอร์และเครือข่ายอินเตอร์เน็ตเป็นเครื่องมือในการจัดการสารสนเทศที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลาย จนกลายเป็นสัญลักษณ์ของสารสนเทศ


5.สารสนเทศด้านจุดมุ่งหมาย ด้านขั้นตอน และสารสนเทศทั่วไปแต่ละด้านประกอบด้วยอะไร

ตอบ องค์ประกอบหลักของระบบสารสนเทศด้านจุดมุ่งหมาย ในการแก้ปัญหา มี 4 ประการ ได้แก่ ข้อมูล สารสนเทศ ความรู้ ปัญญา

องค์ประกอบหลักของระบบสารสนเทศด้านจุดมุ่งหมาย ในการดำเนินงานมี 3 ประการ คือ ข้อมูลนำเข้า กระบวนการ และผลลัพธ์

องค์ประกอบหลักของระบบสารสนเทศทั่วไป ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบ คือเครื่องคอมพิวเตอร์และเครือข่ายสื่อสารข้อมูล ข้อมูล สารสนเทศ โปรแกรมหรือซอฟต์แวร์ บุคลาการด้านคอมพิวเตอร์


6.โดยทั่วไปการจัดระบบสารสนเทศมีขั้นตอนการจัดอย่างไร
ตอบ ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน
ขั้นที่ 1 การวิเคราะห์ระบบ แบ่งออกเป็น 4 หน่วยย่อย คือ

1) วิธีวิเคราะห์แนวทางการปฏิบัติงาน

2) วิเคราะห์หน้าที่

3) วิเคราะห์งาน

4) วิเคราะห์วิธีการและสื่อ

ขั้นที่ 2 การสังเคราะห์ระบบ มีขั้นตอน ดังนี้

1)การเลือกวิธีการหรือกลวิธี

2)ดำเนินการแก้ไขปัญหาด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

3)ประเมินผลประสิทธิภาพการดำเนินงาน

ขั้นที่ 3 การสร้างแบบจำลอง


7.ระบบสารสนเทศระดับบุคคล ระดับกลุ่ม กับระดับองค์กรแตกต่างกันอย่างไร

ตอบ มีความแตกต่งกันดังนี้
ระบบสารสนเทศระดับบุคคล คือระบบที่เสริมประสิทธิภาพและเพิ่มผลงานให้แต่ละบุคคลในหน้าที่ที่รับผิดชอบ ปัจจุบันคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลมีขนาดเล็กลง ราคาถูก แต่มีความสามรถในการประมวลผลด้วยความเร็วสูงขึ้น ประกอบกับมีโปรแกรมสำเร็จที่ทำให้ผู้ใช้สามารถใช้งานได้ง่าย กว้างขวางและคุ้มค่ามากขึ้น เช่น ซอฟต์แวร์ประมวลคำ (word processor) ซอฟต์แวร์นำเสนอ (presentation) ซอฟต์แวร์กราฟิก (graphic) ซอฟต์แวร์การทำสิ่งพิมพ์ (desktop publishing) ซอฟต์แวร์ตารางทำงาน (spread sheet) ซอฟต์แวร์จัดการฐานข้อมูล (database management) และซอฟต์แวร์บริหารโครงงาน (project management) เป็นต้น และชุดโปรแกรมที่ได้รับความนิยมในปัจจุบัน เป็นโปรแกรมที่ได้รวบรวมซอฟต์แวร์ประมวลคำ ซอฟต์แวร์นำเสนอ ซอฟต์แวร์ตารางทำงาน ซอฟต์แวร์จัดการฐานข้อมูล รวมเป็นชุดเข้าไว้ด้วยกัน
การใช้ระบบสารสนเทศเพื่อสนับสนุนงานของแผนก คำว่า การทำงานเป็นกลุ่ม (workgroup) ในที่นี้หมายถึง กลุ่มบุคคลจจำนวน 2 คนขึ้นไปที่ร่วมกันทำงานเพื่อให้บรรลุเป้าหมายเดียวกัน โดยทั่วไปบุคลากรในกลุ่มเดียวกันจะรู้จักกันและกันและทำงานเคียงบ่าเคียงไหล่ เป้าหมายหลักของการทำงานเป็นกลุ่ม คือ การเตรียมสภาวะแวดล้อมที่จะเอื้ออำนวยประโยชน์ในการทำงานร่วมกันเป็นกลุ่มได้อย่างมีประสิทธิภาพ และช่วยเหลือเกื้อกูลซึ่งกันและกัน โดยทำให้เป้าหมายของธุรกิจดำเนินไปได้อย่างมีประสิทธิผล

ระบบสารสนเทศระดับองค์กรคือ ระบบสารสนเทศที่สนับสนุนการดำเนินงานขององค์กรในภาพรวม ระบบในลักษณะนี้จะเกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานร่วมกันของหลายแผนก โดยการใช้ข้อมูลที่เกี่ยวข้อง ร่วมกันด้วยวิธีส่งผ่านถึงกันจากแผนกหนึ่งข้ามไปอีกแผนกหนึ่ง ระบบสารสนเทศดังกล่าวนี้สามารถสนับสนุน งานในระดับผู้ปฏิบัติการและสนับสนุนการตัดสินใจ เนื่องจากสามารถให้ข้อมูลจากแผนกต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง มาประกอบการตัดสินใจ โดยอาจนำข้อมูลมาแสดงในรูปแบบสรุป หรือในแบบฟอร์มที่ต้องการ บ่อยครั้งที่ การบริหารงานในระดับสูงจำเป็นต้องใช้ข้อมูลร่วมกันจากหลายแผนกเพื่อประกอบการตัดสินใจ


8. ข้อมูลและความรู้ คืออะไร มีความสำคัญกับสารสนเทศอย่างไร
ตอบ ข้อมูล (DATA) คือ ข้อเท็จจริง หรือเหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องกับสิ่งต่าง ๆ เช่น คน สัตว์ สิ่งของ สถานที่ ฯลฯ ข้อมูล จึงเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับเหตุการณ์ของสิ่งต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง มีการ รวบรวม ข้อมูลอย่างเป็นระบบ และต่อเนื่อง ดังจะเห็นจาก กระบวนการเลือกตั้ง หลายพรรค การเมือง มีการใช้เทคโนโลยีรวบรวมข้อมูล หาวิธีการที่จะให้ได้ข้อมูลอย่างรวดเร็ว และเมื่อ สถานการณ์หรือเหตุการณ์บางอย่างเกิดผันแปรขึ้น การเตรียมการหรือการแก้สถานการณ์ จะดำเนินการได้อย่างทันท่วงที
ความรู้ คือ สภาวะทางสติปัญญาที่มนุษย์ใช้ในการตีความสิ่งเร้าที่อยู่ภายนอกและภายด้วยข้อเท็จจริง ความคิดเห็น ทฤษฎี หลักการ รูปแบบ กรอบความคิด หรือข้อมูลอื่นๆ ที่มีความจำเป็น และเป็นกรอบของการผสมผสานระหว่างประสบการณ์ ค่านิยม ความรอบรู้ในบริบท สำหรับการประเมินค่า และการนำเอาประสบการณ์กับสารสนเทศใหม่ ๆ มาผสมรวมเข้าด้วยกัน
สารสนเทศ (Information) นั้นคือ ข้อมูลที่ได้ผ่านกระบวนการประมวลผลแล้ว อาจใช้วิธีง่าย ๆ เช่น หาค่าเฉลี่ย หรือใช้ เทคนิคขั้นสูง เช่นการวิจัยดำเนินงาน เป็นต้น เพื่อเปลี่ยนแปลงสภาพข้อมูลทั่วไปให้อยู่ในรูปแบบที่มีความสัมพันธ์ หรือ มีความเกี่ยว ข้องกัน เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในการตัดสินใจหรือตอบปัญหาต่าง ๆ ได้ สารสนเทศ ประกอบด้วยข้อมูล เอกสาร เสียง หรือรูปภาพต่าง ๆ แต่จัดเนื้อเรื่องให้อยู่ในรูปที่มีความหมาย สารสนเทศไม่ใช่จำกัดเฉพาะเพียงตัวเลขเพียงอย่างเดียวเท่านั้น


9. การประมวลผลข้อมูลให้เป็นสารสนเทศมีขั้นตอนอย่างไร
ตอบ มีขั้นตอนดังนี้
ขั้นตอนการประมวลผลข้อมูล
1) การรวบรวมข้อมูล
2)การบำรุงรักษาและประมวลผลข้อมูล
3)การจัดการข้อมูล
4)การควบคุมข้อมูล
5)การสร้างสารสนเทศ
วิธีการเก็บข้อมูล
1)การสำรวจด้วยแบบสอบถาม
2)การสัมภาษณ์ผู้ที่เกี่ยวข้อง
3)การนับจำนวนหรือวัดขนาด ด้วยตนเองหรือใช้อุปกรณ์


10. จงกล่าวถึงเครือข่ายการสื่อสารข้อมูลที่มีขนาดพื้นที่และจำนวนเครื่องที่ใช้งานแตกต่างกัน
ตอบ 1. แลน (Local Area Network: LAN) เป็นเครือข่ายที่ใช้ในการ เชื่อมโยงกันในพื้นที่ใกล้เคียงกัน เช่นอยู่ในห้อง หรือภายในอาคารเดียวกัน
2. แวน (Wide Area Network: WAN) เป็นเครือข่ายที่ใช้ในการ เชื่อมโยงกัน ในระยะทางที่ห่างไกล อาจจะเป็น กิโลเมตร หรือ หลาย ๆ กิโลเมตร
3. อินเทอร์เน็ต (อังกฤษ: Internet) หมายถึง เครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ ที่มีการเชื่อมต่อระหว่างเครือข่ายหลายๆ เครือข่ายทั่วโลก

แบบฝึกหัดท้ายหน่วยการเรียน คำถามท้ายหน่วยการเรียนรู้ที่ 1

1.จงให้ความหมายขอคำว่าเทคโนโลยีและคำว่าสารสนเทศ
ตอบ เทคโนโลยี หมายถึง การนำเอาวิทยาศาสตร์มาประยุกต์ใช้ในวงการต่างๆ โดยทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้น
สารสนเทศ หมายถึง ข้อมูลที่ได้รับการตีความ จำแนกแจกแจง จัดหมวดหมู่ หรือประมวลผลจนมีสาระอยู่ในตัวมันเอง สามารถสื่อความหมายให้เกิดการเข้าใจกับผู้ที่ต้องการใช้ข้อมูลนั้น


2.เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารหมายถึงอะไร
ตอบ เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร หมายถึง เทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับข่าวสาร ข้อมูลและการสื่อสาร นับตั้งแต่การสร้าง การนำมาวิเคราะห์หรือประมวลผล การรับและส่งข้อมูล การจัดเก็บและการนำไปใช้งานใหม่ เทคโนโลยีเหล่านี้มักจะหมายถึง คอมพิวเตอร์ ซึ่งประกอบด้วยส่วนอุปกรณ์ (hardware) ส่วนคำสั่ง (software) และส่วนข้อมูล (data) และ ระบบการสื่อสารต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นโทรศัพท์ ระบบสื่อสารข้อมูล ดาวเทียมหรือเครื่องมือสื่อสารใด ๆ ทั้งมีสายและไร้สาย


3.เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเกิดขึ้นได้อย่างไร
ตอบ เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (Information and Communication Technologies –ICT) เกิดจาก ในปัจจุบันกระแสโลกยุคโลกาภิวัฒน์แผ่อิทธิพลไปทั่วโลกทำให้โลกได้รับข้อมูลข่าวสาร สามารถเชื่อมโยงกันได้แบบเครือข่ายหรือใยแมงมุมได้ทั่วทุกมุมโลก โดยใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีการสื่อสาร เช่น ดาวเทียม โทรศัพท์ เป็นต้น นำมาผสมผสานกันเพื่อให้เกิดความสะดวกในการสื่อสาร มีความรวดเร็วมากขึ้น เราจึงเรียกกระบวนการนี้ว่า เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร(Information and Communication Technologies –ICT)

4.เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมีความเป็นมาหรือพัฒนาการโดยย่ออย่างไร
ตอบ เทคโนโลยีสารสนเทศกำลังเข้ามามีบทบาทต่อชีวิตประจำวัน สังเกตได้จากการนำคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลมาใช้ในสำนักงาน การจัดทำระบบฐานข้อมูลขนาดใหญ่ การใช้อุปกรณ์อำนวยความสะดวกที่ประกอบด้วยชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ แสดงว่า เทคโนโลยีสารสนเทศและคอมพิวเตอร์ เพื่อการคำนวณและเก็บข้อมูลได้แพร่ไปทั่วทุกแห่ง เทคโนโลยีสารสนเทศมีบทบาทสำคัญต่อการแข่งขันด้านธุรกิจและการขยายตัวของบริษัท มีผลต่อการให้บริการขององค์การและหน่วยงาน และมีผลต่อการประกอบกิจในแต่ละวัน
เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเข้ามามีบทบาทอย่างมากในปัจจุบัน ช่วยให้ความเป็นอยู่ในชีวิตประจำวันของเราสะดวกสบายมากขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับยุคก่อน การเดินทางและการติดต่อสื่อสารทำได้ง่ายขึ้น มีการนำเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์เข้ามาใช้ในงานแทบทุกสาขาอาชีพ ซึ้งส่งผลให้วิทยาการต่างๆเจริญก้าวหน้าและทันสมัยอย่างรวดเร็ว

5.ระบบปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence :AI) หมายถึงอะไรและมีส่วนประกอบที่สำคัญอย่างไร
ตอบ ปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence) หรือ เอไอ (AI) หมายถึงความฉลาดเทียมที่สร้างขึ้นให้กับสิ่งที่ไม่มีชีวิต ปัญญาประดิษฐ์เป็นสาขาหนึ่งในด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์และวิศวกรรมเป็นหลัก แต่ยังรวมถึงศาสตร์ในด้านอื่นๆอย่างจิตวิทยา ปรัชญา หรือชีววิทยา ซึ่งสาขาปัญญาประดิษฐ์เป็นการเรียนรู้เกี่ยวกับกระบวนการการคิด การกระทำ การให้เหตุผลการปรับตัว หรือการอนุมาน และการทำงานของสมอง แม้ว่าดังเดิมนั้นเป็นสาขาหลักในวิทยาการคอมพิวเตอร์ แต่แนวคิดหลายๆ อย่างในศาสตร์นี้ได้มาจากการปรับปรุงเพิ่มเติมจากศาสตร์อื่นๆ เช่น
การเรียนรู้ของเครื่อง นั้นมีเทคนิคการเรียนรู้ที่เรียกว่า การเรียนรู้ต้นไม้ตัดสินใจ ซึ่งประยุกต์เอาเทคนิคการอุปนัยของ จอห์น สจวร์ต มิลล์ นักปรัชญาชื่อดังของอังกฤษ มาใช้
เครือข่ายประสาทเทียมก็นำเอาแนวคิดของการทำงานของสมองของมนุษย์ มาใช้ในการแก้ปัญหาการแบ่งประเภทของข้อมูล และแก้ปัญหาอื่นๆ ทางสถิติ เช่น การวิเคราะห์ความถดถอยหรือ การปรับเส้นโค้ง
อย่างไรก็ตาม เนื่องจากปัจจุบันวงการปัญญาประดิษฐ์ มีการพัฒนาส่วนใหญ่โดยนักวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ อีกทั้งวิชาปัญญาประดิษฐ์ ก็ต้องเรียนที่ภาควิชาคอมพิวเตอร์ของคณะวิทยาศาสตร์หรือคณะวิศวกรรมศาสตร์ เราจึงถือเอาง่าย ๆ ว่า ศาสตร์นี้เป็นสาขาของวิทยาการคอมพิวเตอร์นั่นเอง


6.เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมีความสำคัญหรือมีประโยชน์อย่างไร
ตอบ ความก้าวหน้าทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ทำให้มีการพัฒนาคิดค้นสิ่งอำนวยความสะดวกสบายต่อการดำรงชีวิตเป็นอันมาก เทคโนโลยีได้เข้ามาเสริมปัจจัยพื้นฐานการดำรงชีวิตได้เป็นอย่างดี เทคโนโลยีทำให้การสร้างที่พักอาศัยมีคุณภาพมาตรฐานสามารถผลิตสินค้าและให้บริการต่างๆ เพื่อตอบสนองความต้องการของมนุษย์มากขึ้น เทคโนโลยีทำให้ระบบการผลิตสามารถผลิตสินค้าได้เป็นจำนวนมาก มีราคาถูกลง สินค้าได้คุณภาพ เทคโนโลยีสารสนเทศซึ่งให้บริการด้านข้อมูล ข่าวสารด้วยกลไกอิเล็กทรอนิกส์ ทำให้มีการติดต่อสื่อสารกันได้สะดวก รวดเร็วตลอดเวลา จะเห็นว่าชีวิตปัจจุบันเกี่ยวข้อง กับเทคโนโลยีเป็นอันมาก ซึ่งส่วนใหญ่ใช้ระบบคอมพิวเตอร์ในการทำงาน

7.สารสนเทศที่ดีและมีประโยชน์ควรมีลักษณะอย่างไร
ตอบ สารสนเทศที่ดีและมีประโยชน์ในการใช้งานควรมีลักษณะดังนี้
ด้านเนื้อหา
- ความสมบูรณ์ครอบคลุม
- ความสัมพันธ์กับเรื่อง
- ความถูกต้อง
- ความเชื่อถือได้
- การตรวจสอบได้

ด้านรูปแบบ
- ชัดเจน
- ระดับรายละเอียด
- รูปแบบการนำเสนอ
- สื่อการนำเสนอ
- ความยืดหยุ่น

ด้านประสิทธิภาพ
- ประหยัด
- เวลา
- ความเร็วและทันต่อเหตุการณ์
- การปรับปรุงให้ทันสมัย
- มีระยะเวลา

ด้านกระบวนการ
- ความสามารถในการเข้าถึง
- การมีส่วนร่วม
- มีระยะเวลา
8.จงยกตัวอย่างเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่ใช้ในชีวิตประจำวัน
ตอบ เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่ใช้ในชีวิตประจำวัน มีอยู่มากมายหลายอย่าง เพื่อการแลกเปลี่ยนความรู้ความคิดเห็นหรือการรับรู้ข้อมูลข่าวสารในชีวิตประจำวันด้วยสื่อต่างๆ เช่น หนังสือพิมพ์ วิทยุโทรทัศน์ โทรศัพท์ โทรสารล้วนเป็นการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศทั้งสิ้น นอกจากนี้ยังมีการใช้เทคโนโลยีเครื่องกลหรือกลไก เพื่อช่วยอำนวยความสะดวก เช่น การถอนเงินจากเครื่องจ่ายเงินอัตโนมัติ การจ่ายค่าโดยสารรถไฟฟ้าผ่านบัตรแถบแม่เหล็ก เป็นต้น

9.จงอธิบายกระแสโลกาภิวัฒน์ของเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในปัจจุบัน
ตอบ กระแสโลกาภิวัฒน์ ของเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ในปัจจุบันช่วยให้ความเป็นอยู่ในชีวิตประจำวันของเราสะดวกสบายมากขึ้น เมื่อเปรียบเทียบกับยุคก่อนการเดินทางและติดต่อสื่อสารระหว่างกันสามารถทำได้ง่ายขึ้น มีการนำเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์เข้ามาใช้งาน ในทุกสาขาอาชีพ เช่น การสื่อสาร การธนาคาร การบิน วิศวกรรม สถาปัตยกรรม การแพทย์ การศึกษา หรือการเรียนการสอน ซึ่งส่งผลให้วิทยาการต่างๆเจริญก้าวหน้าและทันสมัยอย่างรวดเร็ว การติดตามข่าวสารที่เกิดขึ้นในส่วนต่างๆของโลกได้ทันเหตุการณ์ สามารถรับรู้ข่าวสารข้อมูลในเวลาเดียวกันได้ทั้งที่อยู่ห่างไกลกันคนละสถานที่ เช่น การถ่ายทอดสด การเสนอข่าวเหตุการณ์สำคัญ รายการแข่งขันกีฬา การถ่ายทอดสัญญาณผ่านระบบดาวเทียมจากประเทศต่างๆ การใช้เครื่องคอมพิวเตอร์พิมพ์รายงาน สร้างภาพกราฟิก เก็บข้อมูล สืบค้นข้อมูล ฟังเพลง รวมถึงการประยุกต์ใช้ ในการเรียนการสอน จึงนับได้ว่าคอมพิวเตอร์เป็นองค์ประกอบหนึ่งที่สำคัญ ต่อการดำรงชีวิต การศึกษา และการเรียนรู้เรื่องเทคโนโลยีสารสนเทศจะช่วยให้สามารถใช้งานคอมพิวเตอร์ให้เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาในทุกๆ ด้าน ช่วยส่งเสริมทักษะ และสร้างความสนุกสนานเพลิดเพลิน ไปพร้อมๆ กัน

10.จงกล่าวถึงบทบาทของเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารทั้งในด้านประโยชน์และโทษที่มีต่อผู้ใช้และสังคม
ตอบ
ข้อดีของเทคโนโลยีสารสนเทศ
- เพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน (Operation Efficiency)

- เพิ่มผลผลิต (Function Effectiveness)

- เพิ่มคุณภาพบริการลูกค้า (Quality Customer Service)

- ผลิตสินค้าใหม่และขยายผลผลิต (Product Creation and Enhancement)

- สามารถสร้างทางเลือกเพื่อแข่งขันได้ (Altering the basic of competition)

- สร้างโอกาสทางธุรกิจ (Identifying and Exploiting Business Opportunities)
- ดึงดูดลูกค้าและป้องกันคู่แข่ง (Client Lock-In/Competitor Lock-Out)จากเป้าหมายทั้ง7ประการของเทคโนโลยีสารสนเทศถ้าสามารถดำเนินการได้ตามเป้หมายดังกล่าวก็ถือได้ว่าเป็นข้อดีของเทคโนโลยีสารสนเทศระบบนี้ได้ทั้งหมด

ข้อเสียของเทคโนโลยีสารสนเทศ
- วงจรชีวิตของระบบสารสนเทศ เป็นระบบที่มีวงจรชีวิตค่อนข้างจำกัด อาจจะอธิบายได้ว่า เนื่องจาการเปลี่ยนแปลงทางด้านเทคโนโลยี รวมทั้งสภาพทางเศรษฐกิจและธุรกิจ เช่น ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ทำให้ต้องมีการปรับเปลี่ยนระบบสารสนเทศไปด้วยหรือ การเปลี่ยนแปลงความต้องการของผู้บริหาร ก็อาจจะต้องเปลี่ยนระบบสารสนเทศไปด้วย
- ลงทุนสูง เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเครื่องมือที่มีราคาแพง และส่วนมากไม่อาจจะนำไปใช้ได้ทันที แต่จะต้องมีความรู้ความเข้าใจเสียก่อนจึงจะใช้ได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ
- ก่อให้เกิดช่องว่าง (Gap) เทคโนโลยีสารสนเทศ ทำให้เกิดช่องว่างในการรับข่าวสารระหว่างคนจนกับคนรวย

วันอาทิตย์ที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2556



ให้นักเรียนเขียนระบบการสอน มา 1 ระบบ ตามหลัก I P O มาโดยละเอียด





สิทธิมนุษยชน หมายถึง สิทธิในชีวิต การดำรงชีวิต สิทธิในร่างกาย เสรีภาพ ทรัพย์สิน ความเท่าเทียม ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของบุคคลทุกคน

สำหรับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 นั้น ได้รองรับเอาเนื้อความแห่งปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนมาบัญญัติรับรองไว้ในหลายๆเรื่อง อย่างไรก็ตาม รัฐธรรมนูญ ฉบับปี 2550 ก็ไม่ได้ให้ความหมายของสิทธิมนุษยชนไว้แต่ประการใด แต่หากเราพิจารณาจากบทบัญญัติมาตรา 4 อาจอนุมานได้ว่า สิทธิมนุษยชน หมายถึง ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิ เสรีภาพ และความเสมอภาค อีกนัยนะหนึ่งเราอาจกล่าวได้ว่าศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิ เสรีภาพ และความเสมอภาค ทั้ง 4 เรื่องนี้ ถือเป็นแกนกลางของสิทธิมนุษยชนนั้นเอง
ในประเด็นที่ว่า สิทธิมนุษยชน ควรมีการนิยามความหมายหรือไม่ ในเรื่องนี้ มีความเห็นเป็น 2 ฝ่าย ได้แก่
ความเห็นแรก เห็นว่า สิทธิมนุษยชน ไม่ควรมีคำจำกัดความหมายไว้ เพราะ การให้ความหมายของสิทธิมนุษยชนนั้นให้มีความแน่นอน จะทำให้พัฒนาของสิทธิมนุษยชนถูกจำกัด
ความเห็นที่สอง เห็นว่า สิทธิมนุษยชนควรมีกรอบที่ชัดเจนแน่นอน เพราะ ในกรณีที่ต้องวินิจฉัยว่าการกระทำใด ละเมิดสิทธิมนุษยชนจำเป็นที่จะต้องมีกรอบที่แน่นอนเสียก่อนว่า สิทธิมนุษยชนนั้นหมายความว่าอย่างไร มีขอบเขตแค่ไหน เพียงใด


วิชา สิทธิมนุษยชน


Input

1. ครู หรือ อาจารย์ผู้สอน

2. เอกสารประกอบการเรียน (sheet)

3. ตำราและหนังสือ

4. สื่อประกอบการสอน เช่น Power point

5. กิจกรรมระหว่างเรียน


Process

1. การสอน การบรรยาย และการอธิบาย

2. การแจกเอกสารให้ผู้เรียนได้อ่าน และศึกษา

3. การให้ผู้เรียนได้ศึกษาหาความรู้เพิ่มเติม นอกเหนือจากเอกสารที่นำมาแจกให้

4. การมอบหมายภาระงานให้ผู้เรียน

5. การสอบวัดผลการเรียนรู้



Output

1. ผู้เรียนได้ทราบถึงความเป็นมาของสิทธฺิมากขึ้น

2. ผู้เรียนได้เรียนรู้เรื่องราวเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน

3. สามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้

4. ผลการสอบวัดผลการเรียนรู้ของผู้เรียนแต่ละคน

5. การปรับปรุงเนื้อหาวิชาเพิ่มเติมเพื่อให้ง่ายแก่การทำความเข้าใจ




http://kittayaporn28.wordpress.com

วันจันทร์ที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2556




การผลิตน้ำตาลทรายจัดว่าเป็นsystemหรือไม่

ถ้าเป็น จงบอกองค์ประกอบของระบบการผลิตน้ำตาลทราย

ตามระบบ I P Oมาโดยละเอียด



การผลิตน้ำตาลทรายจัดว่าเป็น systemหรือไม่? ถ้าเป็น จงบอกองค์ประกอบระบบการผลิตน้ำตาลทรายตามระบบ I P O มาโดยละเอียด มาอย่างละอย่างน้อย 5 องค์ประกอบ

ตอบ เป็น










Input มี 5 ข้อคือ

1. กระบวนการสกัดน้ำอ้อย (Juice Extraction)
ทำการสกัดน้ำอ้อยโดยผ่านอ้อยเข้าไปในชุดลูกหีบ (4-5 ชุด) และกากอ้อยที่ผ่านการสกัดน้ำอ้อยจากลูกหีบชุดสุดท้าย จะถูกนำไปเป็นเชื้อเพลิงเผาไหม้ภายในเตาหม้อไอน้ำ เพื่อผลิตไอน้ำมาใช้ในกระบวนการผลิต และน้ำตาลทราย


2. การทำความสะอาด หรือทำใสน้ำอ้อย (Juice Purification)
น้ำอ้อยที่สกัดได้ทั้งหมดจะเข้าสู่กระบวนการทำใส เนื่องจากน้ำอ้อยมีสิ่งสกปรกต่าง ๆ จึงต้องแยกเอาส่วนเหล่านี้ออกโดยผ่านวิธีทางกล เช่น ผ่านเครื่องกรองต่าง ๆ และวิธีทางเคมี เช่น โดยให้ความร้อน และผสมปูนขาว


3. การต้ม (Evaporation)
น้ำอ้อยที่ผ่านการทำใสแล้วจะถูกนำเข้าสู่ชุดหม้อต้ม (9(Multiple Evaporator เพื่อระเหยเอาน้ำออก(ประมาณ 70 โดยน้ำอ้อยข้นที่ออกมาจากหม้อต้มลูกสุดท้าย เรียกว่า น้ำเชื่อม (Syrup)


4. การเคี่ยว (Crystallization) :
น้ำเชื่อมที่ได้จากการต้มจะถูกนำเข้าหม้อเคี่ยวระบบสุญญากาศ (Vacuum Pan) เพื่อระเหยน้ำออกจนน้ำออกจนน้ำเชื่อมถึงจุดอิ่มตัว ที่จุดนี้ผลึกน้ำตาลจะเกิดขึ้นมา โดยที่ผลึกน้ำตาล และกากน้ำตาลที่ได้จากการเคี่ยวนี้รวมเรียกว่า แมสิควิท (Messecuite)


5. การปั่นแยกผลึกน้ำตาล (Centrifugaling)
แมสิควิทที่ได้จากการเคี่ยวจะถูกนำไปปั่นแยกผลึกน้ำตาลออกจาก กากน้ำตาล โดยใช้เครื่องปั่น (Centrifugals) ผลึกน้ำตาลที่ได้นี้จะเป็นน้ำตาลดิบ






Processing มี 5 ข้อคือ
1. การปั่นละลาย (Affinated Centrifugaling)
นำน้ำตาลดิบมาผสมกับน้ำร้อน หรือน้ำเหลืองจากการปั่นละลาย (Green Molasses) น้ำตาลดิบที่ผสมนี้เรียกว่า แมกม่า (Magma) และแมกม่านี้จะถูกนำไปปั่นละลายเพื่อล้างคราบน้ำเหลือง หรือกากน้ำตาลออก

2. การทำความสะอาด และฟอกสี (Clarification)
น้ำเชื่อมที่ได้จากหม้อปั่นละลาย (Affinated Syrup) จะถูกนำไปละลายอีกครั้งเพื่อละลายผลึกน้ำตาลบางส่วนที่ยังละลายไม่หมดจากการปั่น และผ่านตะแกรงกรองเข้าผสมกับปูนขาว เข้าฟอกสีโดยผ่านเข้าไปในหม้อฟอก (ปัจจุบันนิยมใช้ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เป็นตัวฟอก) จากนั้นจะผ่านเข้าสู่การกรองโดยหม้อกรองแบบใช้แรงดัน (Pressure Filter) เพื่อแยกตะกอนออก และน้ำเชื่อมที่ได้จะผ่านไปฟอกเป็นครั้งสุดท้ายโดยกระบวนการแลกเปลี่ยนประจุ (Ion Exchange Resin) จะได้นำเชื่อมรีไฟน์ (Fine Liquor)
3. การเคี่ยว (Crystallization)
น้ำเชื่อมรีไฟน์ที่ได้จะถูกนำเข้าหม้อเคี่ยวระบบสูญญากาศ (Vacuum Pan) เพื่อระเหยน้ำออกจนน้ำเชื่อมถึงจุดอิ่มตัว
4. การปั่นแยกผลึกน้ำตาล (Centrifugaling
แมสิควิทที่ได้จากการเคี่ยวจะถูกนำไปปั่นแยกผลึกน้ำตาลออกจากกากน้ำตาล โดยใช้เครื่องปั่น (Centrifugals) ผลึกน้ำตาลที่ได้นี้จะเป็น น้ำตาลรีไฟน์ และน้ำตาลทรายขาว
5. การอบ (Drying)
ผลึกน้ำตาลรีไฟน์ และน้ำตาลทรายขาวที่ได้จากการปั่นก็จะเข้าหม้ออบ (Dryer) เพื่อไล่ความชื้นออก แล้วบรรจุกระสอบเพื่อจำหน่าย











Output 3 ข้อ คือ


1. น้ำตาลทรายบรรจุแพ็คพร้อมจำหน่าย
2. กากน้ำตาล
3. ชานอ้อย









retrieved from : ระบบการจัดการและควบคุมการผลิตอาหารให้ปลอดภัย ผศ.ดร. สุวิมล คีรติพิบูล 2544

วันพฤหัสบดีที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2556



1.smartphone คืออะไร มีประโยชน์อย่างไรบ้าง บอกมา 5 ประการ

smartphone คือ โทรศัพท์ที่รองรับระบบปฏิบัติการ ต่างๆได้ เสมือนยกเอาคุณสมบัติที่ PDA และคอมพิวเตอร์มาไว้ในโทรศัพท์ เช่น iOS (ที่ลงในมือถือรุ่น Iphone) ,BlackBerry OS, Android OSWindows phone 7 และ Symbian Os (Nokia) เป็นต้น ซึ่งทำให้ สมาร์ทโฟน สามารถลงโปแกรมเพิ่มเติม (Application) ได้ แทบจะเรียกว่าเป็นคอมพิวเตอร์ขนาดเล็ก ขนาดพบพามีระบบการเชื่อมต่อไร้สาย Bluetooth 3G WIFI มี Port Mini USB เชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์ได้ รับ-ส่งข้อมูลต่าง ๆ ด้วยความเร็วสูง

รอง รับระบบมัลติมีเดียต่าง ๆ ดูหนัง avi mp4 3gp ฟังเพลง mp3 acc wav และอื่น ๆ หลากหลายในปัจจุบันมีระบบ IOS Symbian Android Windows Phone และ Blackberry ที่โด่งดังได้รับความนิยมนอกจากจะเหมือนคอมพิวเตอร์ขนาดพบพาแล้ว ยังเหมือนมีกล้องพกพาอีกด้วย

ประโยชน์ของ smartphone

1.ผู้ใช้สามารถติดตั้งแอพที่ต้องการใช้งานไดอย่า่งหลากหลาย

2.ผู้ใช้สามารถเชื่อมต่อเครื่องข่ายไร้สายได้ทุกที่

3.ผู้ใช้สามารถรับส่งอีเมลได้อย่า่งสะดวกสบาย

4.ผู้ใช้สามารถสร้างงานเอกสารได้

5.ผู้ใช้สามารถสืบค้นข้อมูลทางอินเทอร์เน็ทได้อย่า่งง่ายดาย


Retrieved from http://www.mindphp.com/

http://ice-sky.blogspot.com/2012/08/smartphone.html


http://pisutta.ning.com/group/ict_4_manager/forum/topics/4-smart-phone?xg_source=activity


2.android คืออะไร ปกติ จะพบสิ่งนี้ที่ไหน


แอนดรอยด์ (อังกฤษ: android) เป็นระบบปฏิบัติการสำหรับอุปกรณ์พกพา เช่น โทรศัพท์มือถือแท็บเล็ตคอมพิวเตอร์ เน็ตบุ๊ก ทำงานบนลินุกซ์ เคอร์เนล เริ่มพัฒนาโดยบริษัทแอนดรอยด์ (อังกฤษ:Android Inc.) จากนั้นบริษัทแอนดรอยด์ถูกซื้อโดยกูเกิล และนำแอนดรอยด์ไปพัฒนาต่อ ภายหลังถูกพัฒนาในนามของ Open Handset Alliance ทางกูเกิลได้เปิดให้นักพัฒนาสามารถแก้ไขโค้ดต่างๆ ด้วยภาษาจาวา และควบคุมอุปกรณ์ผ่านทางชุด Java libraries ที่กูเกิลพัฒนาขึ้น
แอนดรอยด์ได้เป็นที่รู้จักต่อสาธารณชนเมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550 โดยทางกูเกิลได้ประกาศก่อตั้ง Open Handset Alliance กลุ่มบริษัทฮาร์ดแวร์, ซอฟต์แวร์ และการสื่อสาร 48 แห่ง ที่ร่วมมือกันเพื่อพัฒนา มาตรฐานเปิด สำหรับอุปกรณ์มือถือ ลิขสิทธิ์ของโค้ดแอนดรอยด์นี้จะใช้ในลักษณะของซอฟต์แวร์เสรี
เวอร์ชันล่าสุดของแอนดรอยด์คือ 4.2 (JellyBean) ความสามารถใหม่ของ แอนดรอยด์ 4.2 ที่เพิ่มขึ้นมาคือ Photo Sphere ที่สามารถถ่ายรูปได้ 360 องศา และ Keyboard Gestures ที่สามารถลากนิ้วแทนการสัมผัสตัวอักษรได้
android เป็นสิ่งที่อยู่ในโทรศัพท์มือถือหลายยี่ห้อ มันมีหน้าที่เป็นชุดคำสั่งควบคุมการทำงานของ hardwareชิ้นต่างๆของโทรศัพท์เครื่องๆนั้น ไมว่าจะเป็น หน้าจอ กล้อง แป้นกด ลำโพง ไมค์ และอื่นๆทั้งหมด โดยมันยังทำหน้าตาออกมา ให้ติดต่อกับเจ้าของโทรศัพท์ได้ง่ายๆด้วย เช่นแสดงผลหน้าจอ ปุ่มกดเบอร์โทรศัพท์

Retrieved from http://th.wikipedia.org/wiki/

http://www.prd.go.th/ewt_news.php?nid=5435





3.Cyber Bully หมายถึงอะไร อธิบายมา 1 ย่อหน้า ไม่ต่ำกว่า 10 บรรทัด

Cyberbullying คือ การรังแกกันผ่านโลกไซเบอร์ระหว่างเด็กกระทำต่อเด็กด้วยกัน โดยรูปแบบการรังแกกันมีทั้งการใส่ร้ายป้ายสี การใช้ถ้อยคำหยาบคายต่อว่าผู้อื่น หรือการส่งต่อข้อมูลลับเพื่อทำให้ผู้อื่นเสียหายผ่านทางอินเตอร์เน็ต หรือแม้แต่การส่งข้อความผ่านโทรศัพท์มือถือ โดยการรังแกกันจะต้องมีความต่อเนื่อง และทำให้ฝ่ายที่ถูกกระทำรู้สึกเจ็บปวดหรือได้รับผลกระทบทางจิตใจ

Cyberbullying เป็นความรุนแรงที่ไม่ทราบว่าใครเป็นผู้กระทำ ซึ่งสามารถทำความรุนแรงกับใคร ที่ไหน หรือเมื่อไรก็ได้ และผู้กระทำก็สามารถจะตอกย้ำความรุนแรงอย่างต่อเนื่อง โดยที่สักวันหนึ่งเหยื่อที่เคยถูกกระทำ ก็อาจกลับมาเป็นผู้กระทำความรุนแรงเองเพื่อแก้แค้น เป็นวงจรความรุนแรงที่ไม่มีจุดจบ ด้วยเห็นว่าเรื่องเหล่านี้เป็นเรื่องธรรมดาที่ใครๆ เขาก็ทำกัน ซึ่งผลกระทบก็คือความรุนแรงและบาดแผลที่เกาะกินในจิตใจของเด็กๆ

นอกจากนั้นนักเลงไซเบอร์อาจจะส่งข้อความให้ร้ายไปยังผู้อื่น หรือเขียนคอมเมนต์ในเว็บไซต์หรือบล็อกที่เป็นการต่อว่า การประทุษร้ายซ้ำๆ หลายครั้งแม้จะดูเป็นบาดแผลที่ห่างไกลหัวใจจนไม่น่าใส่ใจสำหรับผู้ใหญ่ แต่สำหรับเด็กหรือวัยรุ่นถือเป็นการทำร้ายที่รุนแรงมาก ส่งผลให้รู้สึกซึมเศร้า, หงุดหงิดอาละวาด, และทำร้ายตัวเองจากอารมณ์หุนหันพลันแล่นได้

จากการสำรวจเด็กในกรุงเทพฯ และปริมณฑล พบว่า มีเด็กถึง 48% ที่อยู่ในวงจร Cyberbullying โดยอาจเป็นทั้งผู้กระทำ เหยื่อ และผู้เฝ้าดูหรือส่งต่อข้อมูลไปยังกลุ่มอื่นๆ ซึ่งเด็กส่วนใหญ่ที่อยู่ในวงจรนี้จะอยู่ในชั้นมัธยมต้น โดยเวลาที่ใช้ในการ Cyberbullying คือ ช่วง 6 โมงเย็น – 3 ทุ่ม ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่เด็กๆ ทำการบ้านและใช้อินเตอร์เน็ต

Retrieved from http://healthkm.exteen.com/20101006/cyberbullying

http://www.healthygamer.net/information/article/9874