วันอาทิตย์ที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2556



ให้นักเรียนเขียนระบบการสอน มา 1 ระบบ ตามหลัก I P O มาโดยละเอียด





สิทธิมนุษยชน หมายถึง สิทธิในชีวิต การดำรงชีวิต สิทธิในร่างกาย เสรีภาพ ทรัพย์สิน ความเท่าเทียม ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของบุคคลทุกคน

สำหรับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 นั้น ได้รองรับเอาเนื้อความแห่งปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนมาบัญญัติรับรองไว้ในหลายๆเรื่อง อย่างไรก็ตาม รัฐธรรมนูญ ฉบับปี 2550 ก็ไม่ได้ให้ความหมายของสิทธิมนุษยชนไว้แต่ประการใด แต่หากเราพิจารณาจากบทบัญญัติมาตรา 4 อาจอนุมานได้ว่า สิทธิมนุษยชน หมายถึง ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิ เสรีภาพ และความเสมอภาค อีกนัยนะหนึ่งเราอาจกล่าวได้ว่าศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิ เสรีภาพ และความเสมอภาค ทั้ง 4 เรื่องนี้ ถือเป็นแกนกลางของสิทธิมนุษยชนนั้นเอง
ในประเด็นที่ว่า สิทธิมนุษยชน ควรมีการนิยามความหมายหรือไม่ ในเรื่องนี้ มีความเห็นเป็น 2 ฝ่าย ได้แก่
ความเห็นแรก เห็นว่า สิทธิมนุษยชน ไม่ควรมีคำจำกัดความหมายไว้ เพราะ การให้ความหมายของสิทธิมนุษยชนนั้นให้มีความแน่นอน จะทำให้พัฒนาของสิทธิมนุษยชนถูกจำกัด
ความเห็นที่สอง เห็นว่า สิทธิมนุษยชนควรมีกรอบที่ชัดเจนแน่นอน เพราะ ในกรณีที่ต้องวินิจฉัยว่าการกระทำใด ละเมิดสิทธิมนุษยชนจำเป็นที่จะต้องมีกรอบที่แน่นอนเสียก่อนว่า สิทธิมนุษยชนนั้นหมายความว่าอย่างไร มีขอบเขตแค่ไหน เพียงใด


วิชา สิทธิมนุษยชน


Input

1. ครู หรือ อาจารย์ผู้สอน

2. เอกสารประกอบการเรียน (sheet)

3. ตำราและหนังสือ

4. สื่อประกอบการสอน เช่น Power point

5. กิจกรรมระหว่างเรียน


Process

1. การสอน การบรรยาย และการอธิบาย

2. การแจกเอกสารให้ผู้เรียนได้อ่าน และศึกษา

3. การให้ผู้เรียนได้ศึกษาหาความรู้เพิ่มเติม นอกเหนือจากเอกสารที่นำมาแจกให้

4. การมอบหมายภาระงานให้ผู้เรียน

5. การสอบวัดผลการเรียนรู้



Output

1. ผู้เรียนได้ทราบถึงความเป็นมาของสิทธฺิมากขึ้น

2. ผู้เรียนได้เรียนรู้เรื่องราวเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน

3. สามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้

4. ผลการสอบวัดผลการเรียนรู้ของผู้เรียนแต่ละคน

5. การปรับปรุงเนื้อหาวิชาเพิ่มเติมเพื่อให้ง่ายแก่การทำความเข้าใจ




http://kittayaporn28.wordpress.com

วันจันทร์ที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2556




การผลิตน้ำตาลทรายจัดว่าเป็นsystemหรือไม่

ถ้าเป็น จงบอกองค์ประกอบของระบบการผลิตน้ำตาลทราย

ตามระบบ I P Oมาโดยละเอียด



การผลิตน้ำตาลทรายจัดว่าเป็น systemหรือไม่? ถ้าเป็น จงบอกองค์ประกอบระบบการผลิตน้ำตาลทรายตามระบบ I P O มาโดยละเอียด มาอย่างละอย่างน้อย 5 องค์ประกอบ

ตอบ เป็น










Input มี 5 ข้อคือ

1. กระบวนการสกัดน้ำอ้อย (Juice Extraction)
ทำการสกัดน้ำอ้อยโดยผ่านอ้อยเข้าไปในชุดลูกหีบ (4-5 ชุด) และกากอ้อยที่ผ่านการสกัดน้ำอ้อยจากลูกหีบชุดสุดท้าย จะถูกนำไปเป็นเชื้อเพลิงเผาไหม้ภายในเตาหม้อไอน้ำ เพื่อผลิตไอน้ำมาใช้ในกระบวนการผลิต และน้ำตาลทราย


2. การทำความสะอาด หรือทำใสน้ำอ้อย (Juice Purification)
น้ำอ้อยที่สกัดได้ทั้งหมดจะเข้าสู่กระบวนการทำใส เนื่องจากน้ำอ้อยมีสิ่งสกปรกต่าง ๆ จึงต้องแยกเอาส่วนเหล่านี้ออกโดยผ่านวิธีทางกล เช่น ผ่านเครื่องกรองต่าง ๆ และวิธีทางเคมี เช่น โดยให้ความร้อน และผสมปูนขาว


3. การต้ม (Evaporation)
น้ำอ้อยที่ผ่านการทำใสแล้วจะถูกนำเข้าสู่ชุดหม้อต้ม (9(Multiple Evaporator เพื่อระเหยเอาน้ำออก(ประมาณ 70 โดยน้ำอ้อยข้นที่ออกมาจากหม้อต้มลูกสุดท้าย เรียกว่า น้ำเชื่อม (Syrup)


4. การเคี่ยว (Crystallization) :
น้ำเชื่อมที่ได้จากการต้มจะถูกนำเข้าหม้อเคี่ยวระบบสุญญากาศ (Vacuum Pan) เพื่อระเหยน้ำออกจนน้ำออกจนน้ำเชื่อมถึงจุดอิ่มตัว ที่จุดนี้ผลึกน้ำตาลจะเกิดขึ้นมา โดยที่ผลึกน้ำตาล และกากน้ำตาลที่ได้จากการเคี่ยวนี้รวมเรียกว่า แมสิควิท (Messecuite)


5. การปั่นแยกผลึกน้ำตาล (Centrifugaling)
แมสิควิทที่ได้จากการเคี่ยวจะถูกนำไปปั่นแยกผลึกน้ำตาลออกจาก กากน้ำตาล โดยใช้เครื่องปั่น (Centrifugals) ผลึกน้ำตาลที่ได้นี้จะเป็นน้ำตาลดิบ






Processing มี 5 ข้อคือ
1. การปั่นละลาย (Affinated Centrifugaling)
นำน้ำตาลดิบมาผสมกับน้ำร้อน หรือน้ำเหลืองจากการปั่นละลาย (Green Molasses) น้ำตาลดิบที่ผสมนี้เรียกว่า แมกม่า (Magma) และแมกม่านี้จะถูกนำไปปั่นละลายเพื่อล้างคราบน้ำเหลือง หรือกากน้ำตาลออก

2. การทำความสะอาด และฟอกสี (Clarification)
น้ำเชื่อมที่ได้จากหม้อปั่นละลาย (Affinated Syrup) จะถูกนำไปละลายอีกครั้งเพื่อละลายผลึกน้ำตาลบางส่วนที่ยังละลายไม่หมดจากการปั่น และผ่านตะแกรงกรองเข้าผสมกับปูนขาว เข้าฟอกสีโดยผ่านเข้าไปในหม้อฟอก (ปัจจุบันนิยมใช้ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เป็นตัวฟอก) จากนั้นจะผ่านเข้าสู่การกรองโดยหม้อกรองแบบใช้แรงดัน (Pressure Filter) เพื่อแยกตะกอนออก และน้ำเชื่อมที่ได้จะผ่านไปฟอกเป็นครั้งสุดท้ายโดยกระบวนการแลกเปลี่ยนประจุ (Ion Exchange Resin) จะได้นำเชื่อมรีไฟน์ (Fine Liquor)
3. การเคี่ยว (Crystallization)
น้ำเชื่อมรีไฟน์ที่ได้จะถูกนำเข้าหม้อเคี่ยวระบบสูญญากาศ (Vacuum Pan) เพื่อระเหยน้ำออกจนน้ำเชื่อมถึงจุดอิ่มตัว
4. การปั่นแยกผลึกน้ำตาล (Centrifugaling
แมสิควิทที่ได้จากการเคี่ยวจะถูกนำไปปั่นแยกผลึกน้ำตาลออกจากกากน้ำตาล โดยใช้เครื่องปั่น (Centrifugals) ผลึกน้ำตาลที่ได้นี้จะเป็น น้ำตาลรีไฟน์ และน้ำตาลทรายขาว
5. การอบ (Drying)
ผลึกน้ำตาลรีไฟน์ และน้ำตาลทรายขาวที่ได้จากการปั่นก็จะเข้าหม้ออบ (Dryer) เพื่อไล่ความชื้นออก แล้วบรรจุกระสอบเพื่อจำหน่าย











Output 3 ข้อ คือ


1. น้ำตาลทรายบรรจุแพ็คพร้อมจำหน่าย
2. กากน้ำตาล
3. ชานอ้อย









retrieved from : ระบบการจัดการและควบคุมการผลิตอาหารให้ปลอดภัย ผศ.ดร. สุวิมล คีรติพิบูล 2544

วันพฤหัสบดีที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2556



1.smartphone คืออะไร มีประโยชน์อย่างไรบ้าง บอกมา 5 ประการ

smartphone คือ โทรศัพท์ที่รองรับระบบปฏิบัติการ ต่างๆได้ เสมือนยกเอาคุณสมบัติที่ PDA และคอมพิวเตอร์มาไว้ในโทรศัพท์ เช่น iOS (ที่ลงในมือถือรุ่น Iphone) ,BlackBerry OS, Android OSWindows phone 7 และ Symbian Os (Nokia) เป็นต้น ซึ่งทำให้ สมาร์ทโฟน สามารถลงโปแกรมเพิ่มเติม (Application) ได้ แทบจะเรียกว่าเป็นคอมพิวเตอร์ขนาดเล็ก ขนาดพบพามีระบบการเชื่อมต่อไร้สาย Bluetooth 3G WIFI มี Port Mini USB เชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์ได้ รับ-ส่งข้อมูลต่าง ๆ ด้วยความเร็วสูง

รอง รับระบบมัลติมีเดียต่าง ๆ ดูหนัง avi mp4 3gp ฟังเพลง mp3 acc wav และอื่น ๆ หลากหลายในปัจจุบันมีระบบ IOS Symbian Android Windows Phone และ Blackberry ที่โด่งดังได้รับความนิยมนอกจากจะเหมือนคอมพิวเตอร์ขนาดพบพาแล้ว ยังเหมือนมีกล้องพกพาอีกด้วย

ประโยชน์ของ smartphone

1.ผู้ใช้สามารถติดตั้งแอพที่ต้องการใช้งานไดอย่า่งหลากหลาย

2.ผู้ใช้สามารถเชื่อมต่อเครื่องข่ายไร้สายได้ทุกที่

3.ผู้ใช้สามารถรับส่งอีเมลได้อย่า่งสะดวกสบาย

4.ผู้ใช้สามารถสร้างงานเอกสารได้

5.ผู้ใช้สามารถสืบค้นข้อมูลทางอินเทอร์เน็ทได้อย่า่งง่ายดาย


Retrieved from http://www.mindphp.com/

http://ice-sky.blogspot.com/2012/08/smartphone.html


http://pisutta.ning.com/group/ict_4_manager/forum/topics/4-smart-phone?xg_source=activity


2.android คืออะไร ปกติ จะพบสิ่งนี้ที่ไหน


แอนดรอยด์ (อังกฤษ: android) เป็นระบบปฏิบัติการสำหรับอุปกรณ์พกพา เช่น โทรศัพท์มือถือแท็บเล็ตคอมพิวเตอร์ เน็ตบุ๊ก ทำงานบนลินุกซ์ เคอร์เนล เริ่มพัฒนาโดยบริษัทแอนดรอยด์ (อังกฤษ:Android Inc.) จากนั้นบริษัทแอนดรอยด์ถูกซื้อโดยกูเกิล และนำแอนดรอยด์ไปพัฒนาต่อ ภายหลังถูกพัฒนาในนามของ Open Handset Alliance ทางกูเกิลได้เปิดให้นักพัฒนาสามารถแก้ไขโค้ดต่างๆ ด้วยภาษาจาวา และควบคุมอุปกรณ์ผ่านทางชุด Java libraries ที่กูเกิลพัฒนาขึ้น
แอนดรอยด์ได้เป็นที่รู้จักต่อสาธารณชนเมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550 โดยทางกูเกิลได้ประกาศก่อตั้ง Open Handset Alliance กลุ่มบริษัทฮาร์ดแวร์, ซอฟต์แวร์ และการสื่อสาร 48 แห่ง ที่ร่วมมือกันเพื่อพัฒนา มาตรฐานเปิด สำหรับอุปกรณ์มือถือ ลิขสิทธิ์ของโค้ดแอนดรอยด์นี้จะใช้ในลักษณะของซอฟต์แวร์เสรี
เวอร์ชันล่าสุดของแอนดรอยด์คือ 4.2 (JellyBean) ความสามารถใหม่ของ แอนดรอยด์ 4.2 ที่เพิ่มขึ้นมาคือ Photo Sphere ที่สามารถถ่ายรูปได้ 360 องศา และ Keyboard Gestures ที่สามารถลากนิ้วแทนการสัมผัสตัวอักษรได้
android เป็นสิ่งที่อยู่ในโทรศัพท์มือถือหลายยี่ห้อ มันมีหน้าที่เป็นชุดคำสั่งควบคุมการทำงานของ hardwareชิ้นต่างๆของโทรศัพท์เครื่องๆนั้น ไมว่าจะเป็น หน้าจอ กล้อง แป้นกด ลำโพง ไมค์ และอื่นๆทั้งหมด โดยมันยังทำหน้าตาออกมา ให้ติดต่อกับเจ้าของโทรศัพท์ได้ง่ายๆด้วย เช่นแสดงผลหน้าจอ ปุ่มกดเบอร์โทรศัพท์

Retrieved from http://th.wikipedia.org/wiki/

http://www.prd.go.th/ewt_news.php?nid=5435





3.Cyber Bully หมายถึงอะไร อธิบายมา 1 ย่อหน้า ไม่ต่ำกว่า 10 บรรทัด

Cyberbullying คือ การรังแกกันผ่านโลกไซเบอร์ระหว่างเด็กกระทำต่อเด็กด้วยกัน โดยรูปแบบการรังแกกันมีทั้งการใส่ร้ายป้ายสี การใช้ถ้อยคำหยาบคายต่อว่าผู้อื่น หรือการส่งต่อข้อมูลลับเพื่อทำให้ผู้อื่นเสียหายผ่านทางอินเตอร์เน็ต หรือแม้แต่การส่งข้อความผ่านโทรศัพท์มือถือ โดยการรังแกกันจะต้องมีความต่อเนื่อง และทำให้ฝ่ายที่ถูกกระทำรู้สึกเจ็บปวดหรือได้รับผลกระทบทางจิตใจ

Cyberbullying เป็นความรุนแรงที่ไม่ทราบว่าใครเป็นผู้กระทำ ซึ่งสามารถทำความรุนแรงกับใคร ที่ไหน หรือเมื่อไรก็ได้ และผู้กระทำก็สามารถจะตอกย้ำความรุนแรงอย่างต่อเนื่อง โดยที่สักวันหนึ่งเหยื่อที่เคยถูกกระทำ ก็อาจกลับมาเป็นผู้กระทำความรุนแรงเองเพื่อแก้แค้น เป็นวงจรความรุนแรงที่ไม่มีจุดจบ ด้วยเห็นว่าเรื่องเหล่านี้เป็นเรื่องธรรมดาที่ใครๆ เขาก็ทำกัน ซึ่งผลกระทบก็คือความรุนแรงและบาดแผลที่เกาะกินในจิตใจของเด็กๆ

นอกจากนั้นนักเลงไซเบอร์อาจจะส่งข้อความให้ร้ายไปยังผู้อื่น หรือเขียนคอมเมนต์ในเว็บไซต์หรือบล็อกที่เป็นการต่อว่า การประทุษร้ายซ้ำๆ หลายครั้งแม้จะดูเป็นบาดแผลที่ห่างไกลหัวใจจนไม่น่าใส่ใจสำหรับผู้ใหญ่ แต่สำหรับเด็กหรือวัยรุ่นถือเป็นการทำร้ายที่รุนแรงมาก ส่งผลให้รู้สึกซึมเศร้า, หงุดหงิดอาละวาด, และทำร้ายตัวเองจากอารมณ์หุนหันพลันแล่นได้

จากการสำรวจเด็กในกรุงเทพฯ และปริมณฑล พบว่า มีเด็กถึง 48% ที่อยู่ในวงจร Cyberbullying โดยอาจเป็นทั้งผู้กระทำ เหยื่อ และผู้เฝ้าดูหรือส่งต่อข้อมูลไปยังกลุ่มอื่นๆ ซึ่งเด็กส่วนใหญ่ที่อยู่ในวงจรนี้จะอยู่ในชั้นมัธยมต้น โดยเวลาที่ใช้ในการ Cyberbullying คือ ช่วง 6 โมงเย็น – 3 ทุ่ม ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่เด็กๆ ทำการบ้านและใช้อินเตอร์เน็ต

Retrieved from http://healthkm.exteen.com/20101006/cyberbullying

http://www.healthygamer.net/information/article/9874