วันอาทิตย์ที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2556



ให้นักเรียนเขียนระบบการสอน มา 1 ระบบ ตามหลัก I P O มาโดยละเอียด





สิทธิมนุษยชน หมายถึง สิทธิในชีวิต การดำรงชีวิต สิทธิในร่างกาย เสรีภาพ ทรัพย์สิน ความเท่าเทียม ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของบุคคลทุกคน

สำหรับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 นั้น ได้รองรับเอาเนื้อความแห่งปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนมาบัญญัติรับรองไว้ในหลายๆเรื่อง อย่างไรก็ตาม รัฐธรรมนูญ ฉบับปี 2550 ก็ไม่ได้ให้ความหมายของสิทธิมนุษยชนไว้แต่ประการใด แต่หากเราพิจารณาจากบทบัญญัติมาตรา 4 อาจอนุมานได้ว่า สิทธิมนุษยชน หมายถึง ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิ เสรีภาพ และความเสมอภาค อีกนัยนะหนึ่งเราอาจกล่าวได้ว่าศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิ เสรีภาพ และความเสมอภาค ทั้ง 4 เรื่องนี้ ถือเป็นแกนกลางของสิทธิมนุษยชนนั้นเอง
ในประเด็นที่ว่า สิทธิมนุษยชน ควรมีการนิยามความหมายหรือไม่ ในเรื่องนี้ มีความเห็นเป็น 2 ฝ่าย ได้แก่
ความเห็นแรก เห็นว่า สิทธิมนุษยชน ไม่ควรมีคำจำกัดความหมายไว้ เพราะ การให้ความหมายของสิทธิมนุษยชนนั้นให้มีความแน่นอน จะทำให้พัฒนาของสิทธิมนุษยชนถูกจำกัด
ความเห็นที่สอง เห็นว่า สิทธิมนุษยชนควรมีกรอบที่ชัดเจนแน่นอน เพราะ ในกรณีที่ต้องวินิจฉัยว่าการกระทำใด ละเมิดสิทธิมนุษยชนจำเป็นที่จะต้องมีกรอบที่แน่นอนเสียก่อนว่า สิทธิมนุษยชนนั้นหมายความว่าอย่างไร มีขอบเขตแค่ไหน เพียงใด


วิชา สิทธิมนุษยชน


Input

1. ครู หรือ อาจารย์ผู้สอน

2. เอกสารประกอบการเรียน (sheet)

3. ตำราและหนังสือ

4. สื่อประกอบการสอน เช่น Power point

5. กิจกรรมระหว่างเรียน


Process

1. การสอน การบรรยาย และการอธิบาย

2. การแจกเอกสารให้ผู้เรียนได้อ่าน และศึกษา

3. การให้ผู้เรียนได้ศึกษาหาความรู้เพิ่มเติม นอกเหนือจากเอกสารที่นำมาแจกให้

4. การมอบหมายภาระงานให้ผู้เรียน

5. การสอบวัดผลการเรียนรู้



Output

1. ผู้เรียนได้ทราบถึงความเป็นมาของสิทธฺิมากขึ้น

2. ผู้เรียนได้เรียนรู้เรื่องราวเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน

3. สามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้

4. ผลการสอบวัดผลการเรียนรู้ของผู้เรียนแต่ละคน

5. การปรับปรุงเนื้อหาวิชาเพิ่มเติมเพื่อให้ง่ายแก่การทำความเข้าใจ




http://kittayaporn28.wordpress.com

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น